ในงานเสวนาเรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ : ความเป็นมา หลักการ และข้อควรพิจารณา" ณ ห้อง 1208 ชั้น 2 ตึกสิรินธรารัตน์ ม.ธรรมศาสตร์ ลำปางเมื่อวันที่ 24 ก.พ.2560 ที่ผ่านมา มีการพูดถึง - "พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์" เป็นหัวข้อย่อยในเสวนา โดย ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ฐิติรัตน์ กล่าวว่า มาตรา14 ไม่ได้เขียนชัดว่าการกระทำอะไร จะผิดซึ่งเข้าใจได้ว่ากฎหมายต้องเขียนกว้างๆเป็นนามธรรมไว้ก่อนเพื่อที่จะไปปรับใช้ในหลายสถานการณ์ และผู้บังคับใช้กฎหมายก็จะมีดุลยพินิจในระดับหนึ่งถ้ามีข้อพิพาทเกี่ยวกับดุลยพินิจให้ศาลเป็นคนพิจารณา แต่อันนี้คือการบอกให้ประชาชนใครก็ได้ไปบอกว่ามันผิดกฎหมายต้องเอาลงฉันคิดว่ามันลามก อันนี้มองว่าเป็นปัญหามากๆ ถ้าใครก็ได้ที่สามารถแจ้ง เรื่องนี้จริงๆมีโมเดลมาจากกฎหมายอเมริกา ของ DMCA ซึ่งกฎหมายลิขสิทธิ์เวลาแจ้งจะบอกแค่ว่า งานนี้มันเป็นการก๊อปปี้งานของฉันนะ สิ่งที่เขาต้องพิสูจน์ต่อผู้ให้บริการก็คือว่าเห็นไหมรูปนี้ฉันโพตส์ก่อนเมื่อสองปีที่แล้วคุณโพตส์ทีหลัง ซึ่งมันก็เกิดปัญหาของการกลั่นแกล้งระหว่างธุรกิจกันเองที่ทำลิขสิทธิ์ ก็มีการถกเถียงกันว่าสุดท้ายมันเป็นเครื่องมือทำลายธุรกิจแทนที่มันจะส่งเสริมให้แข่งขันกัน ด้วยวิธีที่เป็นธรรม มันก็เลยทำให้ถ้ามีการร้องเรียนก็เอาลงไว้ก่อน ใครจะมีเวลา มีทนายเยอะๆไว้ขึ้นศาลบ่อยๆขนาดนั้น
มันก็เกิดปัญหาของการกลั่นแกล้งระหว่างธุรกิจกันเองที่ทำลิขสิทธิ์ ก็มีการถกเถียงกันว่าสุดท้ายมันเป็นเครื่องมือทำลายธุรกิจแทนที่มันจะส่งเสริมให้แข่งขันกัน ด้วยวิธีที่เป็นธรรม มันก็เลยทำให้ถ้ามีการร้องเรียนก็เอาลงไว้ก่อน ใครจะมีเวลา มีทนายเยอะๆไว้ขึ้นศาลบ่อยๆขนาดนั้น
ฐิติรัตน์ กล่าวว่า ในช่วงที่มีการส่งร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่จะเข้าไปสู่ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็มีการสื่อสารกับประชาชนบ้างพอสมควร ส่วนหนึ่งคือการสัมภาษณ์ออกสื่อ และเวทีต่างๆ แต่เนื้อหาเหล่านี้ออกมาหลังจากที่พ.ร.บ.ผ่านไปแล้ว คือออกมาชี้แจ้งว่ารัฐไม่มีเจตนาร้าย จริงๆมันควรจะออกมาบอกก่อนร่างผ่าน มันจะได้นำมาสู่การสนทนาต่อว่า โอเคเราเข้าใจว่ามันไม่ได้มีเจตนาร้าย แล้ววิธีการที่เจตนาดีที่รัฐมีมันเหมาะสมจริงๆหรือเปล่า เราควรจะมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายที่ถกเถียงกันได้ในวิธีการไม่ใช่รัฐเห็นว่าดีแล้วเอาไปเถอะมันดี ดังนั้นจึงควรจะยินดีไม่ควรจะออกมาต่อต้าน
- 3 views