Skip to main content

เมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พ.ร.บ. สถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558

สำหรับเหตุผล ในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ดังกล่าว คือ ระบบการจัดการศึกษาตามกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้แบ่งออกเป็นการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นสามารถดำเนินการจัดการศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาในรูปแบบของวิทยาลัยชุมชนได้ สมควร มีกฎหมายกำหนดเพื่อรองรับการจัดตั้ง การบริหารงานและการดำเนินงานทางวิชาการของวิทยาลัยชุมชนไว้เป็นการเฉพาะ ขยายโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา รวมทั้งให้การฝึกอบรม ด้านวิชาการและด้านวิชาชีพ ซึ่งรูปแบบการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนนั้น ให้คำนึงถึงการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้นเพื่อให้การจัดการศึกษาและการดำเนินการของวิทยาลัยชุมชนเกิดผลสัมฤทธิ์และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและชุมชนได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม

โดยมาตรา 8 ใน พ.ร.บ.นี้ ระบุว่า เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ต่ํากว่าปริญญา ให้สถาบันเป็นสถานศึกษาซึ่งจัดการศึกษาโดยวิทยาลัยชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา วิจัย ให้บริการทางวิชาการ ทะนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นและชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างศักยภาพบุคคล ตอบสนองและสอดคล้องต่อความต้องการและการประกอบอาชีพของท้องถิ่นและชุมชนซึ่งนําไปสู่การพัฒนาประเทศ

รวมทั้ง ม.9 การดําเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตาม ม.8 สถาบันต้องให้ความสําคัญและคํานึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) การสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ํากว่าปริญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน ด้วยกระบวนการจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย สามารถเข้าถึงผู้เรียนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
(2) การตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและชุมชนในเรื่องการศึกษา การฝึกอบรมด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพ
(3) ความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในการศึกษาต่อในระดับปริญญาของนักศึกษา
(4) ความร่วมมือกับสถานศึกษา สถานประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนา องค์กรที่ดําเนินงานวัฒนธรรม หน่วยงานอื่นของรัฐ สถานศึกษาชั้นสูง สถาบันอื่นในประเทศหรือต่างประเทศในการจัดการศึกษา
(5) มาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ
(6) การระดมทรัพยากรทั้งจากภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนในการจัดการศึกษา
(7) การบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นหลักธรรมาภิบาล
(8) การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนในการบริหารจัดการ
(9) การประสานงานและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดดูที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/030/1.PDF