Skip to main content

สาขาภาพยนต์และโทรทัศน์ นิเทศศาสตร์ ม.บูรพา รุ่น 1 จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการ แสดงผลงานนิสิตปี4 ก่อนจบการศึกษา ในในคอนเซปต์งาดวัด เพื่อความสนุกสนานน่าสนใจสำหรับคนทั่วไป ‘บก.Bioscope’ แนะคนรุ่นใหม่หันมาตั้งคำถามต่อวงการภาพยนตร์ไทย การมีอยู่หรือมาตรฐานของระบบบางอย่าง เพื่อสร้างความก้าวหน้า

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 ณ ห้องกระจก อาคาร 60 พรรษา มหาราชินี 2( Qs2 )หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าตึกคณะมนุษย์  สาขาภาพยนต์และโทรทัศน์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “มานะ มานี ปิติ ชูใจ นั่งรถไฟไปงานวัด” เพื่อนำเสนอผลงานของนิสิตชั้นปีที่4 โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้านำเสนอผลงานที่เป็นภาพยนต์ โดยมี งานวิจัย บทวิเคราะห์และภาพยนต์สั้นเรื่องต่างๆให้รับชมมากกมาย  และในช่วงบ่ายนำเสนอผลงานเกี่ยวกับโทรทัศน์ โดยมี รายการโทรทัศน์ วิจัย โฆษณา และหนังสือหลากหลายเรื่องราวมานำเสนออย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ในงานยังมีซุ้มถ่ายภาพ เกมงานวัดต่างๆ จับฉลาก สอยดาว ปาเป้าเพื่อชิงของรางวัล ที่น่าสนใจคือประตูทางเข้างานยังถูกออกแบบมาเป็นบ้านผีสิงอีกด้วย

โดยได้รับเกิยรติจากวิทยากกรผู้ทรงคุณวุฒิคือ คุณธิดา ผลิตผลการพิมพ์ (บก.นิตรสารไบโอสโคป)และคุณภาณุ อารี(ผู้กำกับ นักเขียน ฝ่ายต่างประเทศ บริษัท สหมงคลฟิล์ม) มาให้คำแนะนำในส่วนของภาพยนต์ ในช่วงของโทรทัศน์นั้นได้รับเกียรติจาก คุณธาม เชื้อสถาปนศิริ (นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิชาการสื่อสารธารณะ) และ คุณดวงแข  บัวประโคน (กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมวขยันดี จำกัด) ในการแนะนำติดชมผลงานในช่วงที่ 2
 

ในช่วงท้ายของงาน คุณธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ได้ให้คำแนะนำและข้อคิดแก่นิสิตที่เข้ารับชมงานว่าว่า  “ รู้สึกชื่นชมผลงานของน้องๆ และหลายๆผลงานยังต่อยอดไปได้อีกไกล แต่พี่อยากฝากเอาไว้อย่างหนึ่งว่า จะดีกว่านี้ไหม ถ้าคนรุ่นใหม่หันมาตั้งคำถามต่อระบบหรือวงการของภาพยนตร์ไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตั้งคำถามต่อการมีอยู่หรือมาตรฐานของระบบบางอย่างโดยไม่ต้องเกรงว่าคำถามนั้นจะขัดแย้งต่อคนรุ่นเก่าในระบบอย่างไร เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับวงการอย่างที่คนรุ่นใหม่ควรจะทำ ”

โดยรายละเอียดหัวข้อสัมมนามีดังนี้

1. ปรัชญาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์อนิเมชั่นของผู้กำกับ Hayao Miyazaki ช่วงปี ค.ศ.2000-2014   (Paper)

เพื่อวิเคราะห์และศึกษาปรัชญาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ปรากฏอยู่ในภาพยตร์อนิเมชั่นทั้ง 4 เรื่องของฮายาโอะ มิยาซากิ

2. ภาพยนตร์สั้นเรื่อง Noiseless from the ocean   (Media)

ภาพยนตร์สั้นที่นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวผ่านพ่อผู้ตามหาลูกสาวที่หายไป

3. คริสโตเฟอร์ โนแลนกับผลผลิตทางจิตใจ   (Paper)

การศึกษาชีวประวัติของคริสโตเฟอร์ โนแลน และการกำกับภาพยนตร์ของเขา โดยนำทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) และทฤษฎีประพันธกร (Auteur Theory) มาวิเคราะห์

4. กระบวนการตรวจสอบและพิจารณาภาพยนตร์ในประเทศไทย   (Media)

"เบื้องลึกแบนหนัง"  เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการการพิจารณาหนัง ตีแผ่ขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ และกรณีการแบนภาพยนตร์ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย

5. ทิศทางความก้าวหน้าทางการตลาดของภาพยนตร์ไทยหลังเปิดประชาคมอาเซียน    (Paper)

การศึกษามุมมองด้านการตลาดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึงสภาพปัญหา อุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อดูแนวโน้มของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยหลังเปิดประชาคมอาเซียน

 6. เปรียบเทียบวิธีการโปรโมท Teaser ที่มีวิธีการเสนอคล้ายกันของค่ายหนังในประเทศไทย   (Paper)         

เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการนำเสนอภาพยนตร์ตัวอย่างเพื่อให้ค่ายหนังเพิ่มความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบ teaser มากขึ้น

7. ภาพยนตร์สั้นเรื่อง "คำสาปร้านเบเกอรี่"   (Media)

เรื่องสั้นของมูราคามินำมาแปลงเป็นบทภาพยนตร์เกี่ยวกับ คู่สามีภรรยาที่เกิดหิวกระทันหันภายในยามดึก เมื่อความหิวเข้าครอบงำความลับของยศสามีของวาดจึงเปิดเผย มันคือ"คำสาปของร้านเบเกอรี" สิ่งเดี่ยวที่จะแก้ไขคำสาปได้ก็คือการทำภารกิจให้สำเร็จอีกครั้ง

8. อเมริกา อิหร่าน 2 ความต่างทางค่านิยม ที่ถูกปลูกฝั่งผ่านภาพยนตร์เด็ก   (Paper)

การศึกษาภาพยนตร์เด็กของทั้งสองประเทศว่าในภาพยนตร์นั้น กำลังปลูกฝั่งอะไรให้กับเด็กในประเทศของตน และส่งผลอย่างไรต่อเด็ก โดยใช้ทฤษฎีต่างๆมาวิเคราะห์ภาพยนตร์นั้นๆ และเปรียบเทียบความเหมือนต่างของสิ่งที่ถูกปลูกฝั่งในภาพยนตร์เด็กของทั้งสองประเทศว่ามีความคล้ายและแตกต่างกันอย่างไร

9. ภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่อง "ประยุก(ค)ต์"   (Media)

สารคดีที่พูดถึงว่าในปัจจุบันคนมองว่าสุนทราภรณ์เป็นเพลงที่เชยและกำลังจะหายไป แต่ในความจริงแล้วยังมีเด็กรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจอยู่

10. Pocket book คู่กรรม   (Paper)

วรรณกรรมอมตะ'คู่กรรม' สู่การเป็นแรงบันดาลใจในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นละครโทรทัศน์ ละครเวที หรือภาพยนตร์ การทำซ้ำของละครโทรทัศน์ที่มากกว่าสิบครั้ง การสร้างเป็นรูปแบบภาพยนตร์ และละครเวที จากบทสัมภาษณ์ผู้ประพันธ์ และผู้กำกับแต่ละท่าน ที่กล่าวถึงแรงบันดาลใจ วิธีการสร้าง และความแตกต่าง

11. พอคเก็ตบุ๊ค มนุษย์ฝึกงาน   (Paper)

หนังสือที่เขียนโดยผู้รอดชีวิตจากการฝึกงาน เหมาะสำหรับมนุษย์ทุกเพศทุกวัย ที่เคยฝึกก็อ่านได้ ที่ไม่เคยฝึกมาอ่านก็ยิ่งดี

12. BUU TV   (Media)

รายการทีวีของชาวมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อตอบสนองความต้องการของนิสิต นำเสนอปัญหา และเป็นช่องทางแสดงความคิดเห็น อีกทั้งยังเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมต่างๆของทางมหาวิทยาลัย

13. การจัดการทางการตลาดของค่ายเพลง สมอลล์รูม   (Paper)

การจัดการทางการตลาดของค่ายเพลง Smallroom ในยุคดิจิทัล เพื่อศึกษาปัจจัยแนวโน้มและความเห็นของศิลปินที่มีต่อการจัดการทางการตลาดของค่ายเพลง Smallroom

14. รายการโทรทัศน์ 'Un?Known   (Media)

ต้องการนำเสนอเรื่องราวของแฟนกลุ่มต่างๆ ที่น้อยคนอาจจะไม่เคยสนใจเรื่องราวนั้นๆ ให้มาเริ่มทำความรู้จักพร้อมไปกับรายการของเรา

15. แนวโน้มของละครโทรทัศน์ไทยประเภทซีรี่ส์ในทีวีดิจิทัล   (Paper)

เพื่อศึกษาแนวโน้มของการผลิตละครโทรทัศน์ และศึกษาแนวโน้มของเนื้อหาละครโทรทัศน์ไทยประเภทซีรี่ส์

16. แคมเปญรณรงค์การใส่กระโปรงนิสิตสั้น (สั้น เสื่อม เสียว)   (Media)

การรณรงค์ไม่ใส่กระโปรงนิสิตสั้น ในรูปแบบของ viral clip เพื่อการทดสอบการรับรู้สื่อผ่าน social network

17. พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจที่มีต่อรายการคืนความสุขให้คนในชาติ (Paper)

ผู้วิจัยต้องการสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของประชาชน ต.แสนสุข จ.ชลบุรีที่มีต่อรายการ“คืนความสุขให้คนในชาติ" เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และเพิ่มเติมในรายละเอียดต่างๆเพื่อที่จะพัฒนารายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

18. ความแตกต่างของสารคดีในระบบอนาล็อกกับดิจิทัล   (Media)

สาระคดีท่องเที่ยวผจญภัย รายการให้ความรู้รูปแบบใหม่ในระบบทีวีดิจิทัล