Skip to main content

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ หัวหน้าโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา กล่าวว่า วิจัยในการศึกษาต้องเป็นงานของผู้เรียนไม่ใช่งานของผู้สอนและเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพราะเป็นกระบวนการในการพัฒนาปัญญาของมนุษย์ เนื่องด้วยในปัจจุบันเด็กสามารถหาความรู้ได้จากGoogle จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้จากครู ครูจึงมีหน้าที่ถามให้เด็กได้คิด เมื่อคิดแล้วต้องเขียนออกมาอธิบายตามความเป็นเหตุและผล เพราะฉะนั้นครูต้องสอนให้เด็กมีความเข้าใจในเนื้อหาไม่ใช่แค่จำไปสอบซึ่งอาศัยกระบวนการจากบันไดสามขั้นหรือที่เราเรียกกันว่า “พุทธิพิสัย” ต้องเน้นบันไดขั้นที่สอง การเข้าใจที่ใช้กระบวนคิดของเหตุและผลเกิดจากการใช้การบูรณาการจากความรู้เดิม เมื่อเข้าใจแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

                ต่อมาอาจารย์ได้พูดว่า การศึกษาคือการที่เราเอาสิ่งที่เรารู้แล้วในอดีตมาศึกษาเพื่อนำเอาไปต่อยอด แต่การศึกษาไทยเรียนรู้เรื่องที่รู้แล้วในอดีตแต่ก็ไม่ได้ต่อยอด ซึ่งสิ่งที่โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาทำก็คือให้เด็กทำวิจัยแต่ไม่ใช่วิจัยทางสถิติแต่เป็นวิจัยทางเหตุและผลมันจะได้ผลกว่าวิจัยทางสถิติที่การศึกษาไทยทำมาตลอดแต่ไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ใดๆที่นำไปสู่การต่อยอด

                อาจารย์ได้บอกอีกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนจิตใจครูให้ได้และครูจะไม่ใช่ศูนย์กลางในการเรียนอีกต่อไปอีกทั้งได้บอกเคล็ดลับการเปลี่ยนจิตใจครูในการเข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาเนื่องด้วยครูจะกลัวงานวิจัยและงานต่างๆเกี่ยวกับการสอน ดังนั้นจะโดยการชักชวนและเกลี่ยกล่อมไปเรื่อยๆ พอครูเห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็กในโครงการจึงยอมเข้าร่วมและนำไปสู่ผู้ปกครองที่มาให้ความร่วมมือต่อ

                สุดท้ายอาจารย์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าทางออกการศึกษาไทยต้อง”ล้างป่าช้า ไล่ผีวิจัย” ที่ไม่ใช่การสร้างปัญญาที่เกิดเหตุผลโดยเฉพาะในตัวครู เราต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์การสอน ให้มีฐานคือสอน สะท้อนคิดคือเรียน เขียนคือคิด แล้วต้องฝึกปฏิบัติ และพัฒนาระบบคิดครูให้มีความเป็นเหตุเป็นผลใช้การวิเคราะห์สังเคราะห์ สิ่งที่สำคัญกรรมการสถานศึกษาต้องเข้าใจเรื่องนี้ ผู้ปกครองต้องให้ความสนับสนุนไม่ใช่ให้เด็กเข้าแต่โรงเรียนติว และในวันที่ 25 มีนาคมนี้จะมีการเปิดเวทีและนำโรงเรียนเพาะพันธุ์ปัญญามาเปิด 9 ห้องจาก 8 ศูนย์ ที่อิมแพคฯ เมืองทองธานี