26 มี.ค. 60 เวลา 13.00 น. หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 1 (หอประชุมใหญ่) ม.ศรีนครินทร์วิโรฒ จัดกิจกรรมเสวนา เรื่อง 7 แพร่ง ทางออกการศึกษาไทย นำโดยวิทยากร 1.ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก 2.รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล 3.อาจารย์จำรัส ช่วงชิง 4.รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ 5.คุณธานินทร์ ทิมทอง 6.ดร.ไกรยส 7.ภัทราวาทคุณพริษฐ์ ชิวารักษ์ และดำเนินรายการโดย ผศ.ปกป้อง จันวิทย์
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ สกว. เผยว่า จริงๆจนมีหลายบทบาท ทั้งผู้ปกครอง อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ต้องรับเด็กเข้ามาเรียนต่อ มาทำงานวิจัย ล้วนแต่เจอเรื่องสยอง
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยที่รับเด็กเข้า เราตกใจมากว่านักเรียนที่จบออกมาไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ชอบอะไร เค้าก็ตอบไม่ได้ มันทำให้เค้ารู้สึกเคว้งคว้าง ซึ่งเด็กเหล่านี้เค้ามุ่งมั่นในการเรียนอย่างมากแต่ว่า ในที่สุดเขาไม่สามารถต่อยอด มีทักษะการใช้ชีวิต ไม่รู้จักตัวเอง ซึ่งเด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยมาเราพบว่าเค้ามาแสวงหาตัวตน ว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ ซึ่งเด็กเหล่านี้ล้วนถูกทำร้ายมาจากระบบการศึกษา
ในฐานะแม่เรารู้สึกว่า ครูบ้านเราสอนวิชาสังคมศาสตร์ไม่เป็น วิชาสังคมกลายเป็นวิชาท่องจำมากกว่าเข้าใจ เด็กท่องจำปรากฏการณ์สังคมแต่สังคมปัจจุบันมันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ซึ่งเค้าไม่สามารถเข้าใจได้หมดหรอกเพราะเค้าท่องจำมันมา เด็กไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ได้เพราะถูกบังคับให้ท่องจำ พอเราไปดูตำราที่ลูกเรียนของเด็ก ป.6 ต้องเรียนกฎหมายมหาชนเด็กมันก็ท่อง แต่พอถามว่ารู้จักไหมกฎหมายคืออะไรเด็กก็ไม่สามารถตอบได้ มันทำให้เราตั้งคำถามว่าในโรงเรียนจริงๆเค้าสอนอะไรบ้าง ซึ่งน่าตกใจมากเพราะระบบการสอนในประเทศเราไม่สามารถทำให้เด็กไปต่อ คิดต่อได้
หากเทียบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยนั้นจะดีกว่ามัธยมอย่างมาก แต่ว่าอาจารย์ต้องทำงานหนักและไม่ติดกับเทคนิคมากจนเกินไป และต้องเรียนรู้กับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ถึงจะสามารถถ่ายทอดให้ศิษย์ได้
เวลาเราสอนสังคมในห้อง เด็กไม่มีข้อมูลอะไรเลยเพียงแค่มารอจดอย่างเดียว ซึ่งความเป็นจริงมันต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีข้อมูลมาคุยกัน ผลสุดท้ายเด็กเก่งก็ไม่เรียนวิชาสังคม เพราะง่าย สังคมกลายเป็นวิชาที่ถูกดูถูก
ในฐานะนักวิจัย เราจะบอกตัวเองเสมอว่าเราไม่ใช่นักการศึกษา แม้เราจะสอนมหาวิทยาลัยมายี่สิบปี เรารู้สึกว่าระบบมันมีความซับซ้อนอยู่หลายอย่าง ตั้งแต่ระดับล่างขึ้นบนและยังมีเรื่องนอกระบบอีก มีเด็กที่ออกไปนอกการศึกษา เมื่อเรามองภาพใหญ่ออกมามันน่าแปลกใจมากที่เราไม่สามารถหานักวิจัยที่เป็นนักการศึกษาได้เลย นักวิจัยจากสายการศึกษาเขาจะวิจัยแค่เทคนิคการสอนในห้องเรียนเช่น เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ การสอนภาษาไทย แล้วเชิงระบบที่มันเกิดปัญหาขึ้น นักการศึกษาอยู่ที่ไหน มันเลยกลายเป็นว่าเวลาเราทำอะไรที่เป็นวิจัยที่เป็นเชิงระบบมากขึ้น จะไปทำกับนักเศรษฐศาสตร์ วิศวะ ทำกับคุณหมอ ซึ่งบุคคลเหล่านี้สนใจแนวคิดใหม่ๆเกี่ยวกับการศึกษาและดูเหมือนจะคิดเชิงระบบดีกว่า ซึ่งมันทำให้น่าตกใจ ว่าแล้วคณะที่สอนด้านการศึกษา เค้าทำอะไรส่งกันอยู่ เพราะไม่สามารถสร้างงานที่เป็นอิมแพ็คได้มีเฉพาะงานเทคนิคที่ซ้ำไปซ้ำมา
มันทำให้เราที่ไม่ใช่นักการศึกษามานั่งหา โจทย์ว่าความยากที่สุดคือคานงัดกับระบบการศึกษามันอยู่ที่ไหน ซึ่งเราก็เจอแต่น้อยมาก มันเริ่มตั้งแต่เราอ่านภาษาไทยที่นักการศึกษายังตกลงกันไม่ได้เลย ถ้าเราอ่านไม่ออกก็ไปต่อไม่ได้นี่คือในระบบและเป็นหนึ่งในโจทย์วิจัย เพราะพื้นฐานเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการออกแบบหลักสูตรภาษาไทย ส่วนอันที่สองคือหลักสูตรที่ออกมาจากส่วนกลางที่มันไม่ถูกกระจาย หากเป็นตามภาคอื่นๆที่เขามีภาษาเฉพาะคุณจะแปลงการสอนให้มีความสอดคล้องยังไง ถ้านอกระบบมันยิ่งเป็นเรื่องใหญ่
นอกจานนั้นยังมีระบบการผลิตที่พัฒนาครู การพัฒนาคุณภาพโรงเรียน การคิดเชิงตรรกะที่ควรสอนเด็กยังไง
อะไรคือหัวใจของการศึกษาไทยและคานงัดที่ว่าคืออะไร???>>> การกระจายอำนาจทางการศึกษาไม่เฉพาะที่กระทรวงเท่านั้น แต่ต้องให้ภาคส่วนอื่นนอกกระทรวงมีส่วนร่วม ให้หน่วยงานอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วม การทำตำราเรียนต้องมีหลากหลายไม่ควรถูกผูกขาดซึ่งบางเจ้าคุณภาพไม่ดี บทบาทของสื่อสมัยใหม่ที่เข้ามาช่วยพัฒนา กระทรวงศึกษาต้องมองภาพที่กว้างกว่ากระทรวงศึกษา พอมีทางเลือกมากขึ้นมันน่าจะทำอะไรที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ควรฝากความหวังไว้กับกระทรวงศึกษา ผู้ปกครองไม่ควรฝากความหวังไว้กับครู การที่ให้เด็กได้เจอโลกความเป็นจริงเยอะๆ ให้โอกาสเด็กได้พูดคุยกับคนประเภทต่างๆ สิ่งเหล่านี้คือการเรียนรู้ทั้งสิ้น และจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้เด็กต้องรู้จักสังคมมากกว่านี้
ประเด็นที่สองคือการโค้ชชิ่ง ที่เป็นงานวิจัยของ สกว. คือการที่ครูเกิดการเรียนรู้ โดยเอาเด็กเป็นตัวตั้ง มีเป้าว่าทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาและทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเรียนรู้และพัฒนาไปเรื่อยๆ
- 3 views