Skip to main content

ในงานเสวนาเรื่อง  "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ : ความเป็นมา หลักการ และข้อควรพิจารณา" ณ ห้อง 1208 ชั้น 2 ตึกสิรินธรารัตน์ ม.ธรรมศาสตร์ ลำปางเมื่อวันที่ 24 ก.พ.2560 ที่ผ่านมา มีการพูดถึง "การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ"  เป็นหัวข้อย่อยในเสวนา โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ 

ยิ่งชีพ กล่าวว่า มีบุคคลท่าหนึ่งชื่อ พ่อไม้ คัดค้านการเหมืองแร่เมืองเลยอยู่ที่บ้านของเขาที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เพราะว่าได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เขาทำคือรวบรวมชาวบ้านไปประท้วง เขาไม่ได้เล่นเฟซบุ๊ก แต่ว่าจะมีอีกกลุ่มหนึ่งที่คัดค้านเหมืองทางคำด้วยกัน เล่นเฟซบุ๊กและตั้งเพจ ชื่อว่าเหมืองแร่เมืองเลย แล้วก็โพสต์เกี่ยวกับการคัดค้านเหมือนแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ และก็มีการโพตส์ ว่าเหมืองทองคำทำให้มีการปนเปื้อน บริษัททุ่งคำก็ดำเนินการฟ้อง โดยไม่รู้ว่าใครเปิดเฟสบุ๊ค แต่พ่อไม้เป็นแกนนำชาวบ้านก็ฟ้องแกนนำไว้ก่อน เวลาฟ้องก็ไม่ได้ฟ้องที่จัดหวัดเลยนะครับ แต่ไปฟ้องที่ศาลจังหวัดแม่สอด ทำให้พ่อไม้ต้องเดินทางจากจังหวัดเลยไปแม่สอดเพื่อสู้คดี  ว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนโพตส์คนอื่นเขาเล่น

อีกกรณีหนึ่ง คือ คุณกำพล เป็นนักอนุรักษ์ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ไปโดยฟ้องที่นครศรีธรรมราช จากการที่กล่าวว่า ขี้เถ้าจากถ่านถิ่นในการเอามาทำปะการังเทียมแล้วไปทิ้งทะเลว่าโครงการนี้ไม่สามารถใช้ได้จริง เขาก็วิจารณ์ จริงเท็จผมไม่ทราบนะครับ ว่านักวิจัยเรื่องนี้ได้รับผลตอบแทน เป็นล้าน บนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขา ก็ถูกดำเนินคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำคุก4เดือน แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง

อีกกรณีคืออานดี้ ฮอลล์  เป็นชาวอังกฤษ ทำงานวิจัยเรื่องการละเมิดสิทธิแรงในพม่า ในโรงงานสับปะรดกระป๋องที่ประจวบคีรีขันธ์ เวลาเขาเผยแพร่งานวิจัย เขาก็ทำแบบ offline แบบการพูดออกไมค์ แต่หลังงานวิจัยเสร็จแล้ว องค์กร ฟินวิทซ์ ก็เอารายงานของเขาไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ อานดี้ ฮอลล์ จึงถูกดำเนินคดีในข้อหานำสู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งจริงๆ เขาไม่ได้เป็นคนนำเข้า เขาเขียนเสร็จ ฟินวอทซ์ก็เอาไปลง ประชาไทก็เอามาเขียนข่าวที่เขานั่งพูด แล้วเอามาลง เขาไม่ได้โพตส์อะไรเลย แต่อานดี้ ฮออล์ก็ถูกฟ้องว่านำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ โดย การรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงานพม่า ในโรงงานสับปะรดกระป๋องแห่งหนึ่ง มีการยึดพาสปอร์ต ค่าแรงน้อย ก็ลงโทษจำคุก 3 ปีแต่รอลงอาญา2ปี และยังถูกฟ้องทั้งหมดรวม5คดี จากวิจัยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตอนนี้เขาเลยตัดสินใจออกไปจากประเทศไทยและจะไม่กลับมาอีก

คดีมาตรา14(1)มีเป็นหมื่นนะครับและถูกเอาไปใช้กับการด่าพ่อล่อแม่กันบนเฟซบุ๊ก ด่าหยาบคาบ สาดเสียเทเสีย เอารูปมาทำให้เสียก็จะโดน14(1) ทั้งที่ประเทศไทยมีกฎหมายการหมิ่นประมาทและการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาอยู่แล้ว ทำให้มีคดีอีกเป็นหมื่น  ที่เกี่ยวกับการด่ากันไปกองอยู่ที่ตำรวจอัยการศาล หาตัวได้บ้างไม่ได้บ้าง ทุกคนก็เหนื่อย โดยที่ไม่มีสาเหตุเป็นสาระสำคัญ

 

ทั้งหมดทั้งมวล3คดีที่ยกมาอยู่ ในมาตรา 14 ว่าผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ปลอมหรือข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ กฎหมายฉบับนี้ตอนร่างตั้งใจจะจับข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ในการปลอมแปลงเว็บไซต์เพื่อมาเอาเงินเช่นการปลอมเว็บธนาคาร แต่ถูกเอามาใช้ตีความว่า โพตส์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การปกป้องสิ่งแวดล้อม ก็จะถูกฟ้องว่าสิ่งนั้นไม่จริงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ หลายคนที่มาเปิดโปงคอรัปชั่นมีการละเมิดสิทธิ ออกมาด่าทหาร ด่านักการเมืองก็จะถูกฟ้องใน14(1) เท่าที่เราทราบ คดีที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะ ตรวจสอบเปิดโปง ละเมิดสิทธิ คอรัปชั่น การตรวจสอบการทำงานของรัฐ หรือเอกชนขนาดใหญ่ เท่าที่ทราบคือ 46 คดีในวันนี้นะครับ แต่จริงๆแล้ว คดีมาตรา14(1)มีเป็นหมื่นนะครับและถูกเอาไปใช้กับการด่าพ่อล่อแม่กันบนเฟซบุ๊ก ด่าหยาบคาบ สาดเสียเทเสีย เอารูปมาทำให้เสียก็จะโดน14(1) ทั้งที่ประเทศไทยมีกฎหมายการหมิ่นประมาทและการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาอยู่แล้ว ทำให้มีคดีอีกเป็นหมื่น  ที่เกี่ยวกับการด่ากันไปกองอยู่ที่ตำรวจอัยการศาล หาตัวได้บ้างไม่ได้บ้าง ทุกคนก็เหนื่อย โดยที่ไม่มีสาเหตุเป็นสาระสำคัญ

ยิ่งชีพ กล่าวว่า ถ้าเราทราบคดีหมิ่นประมาทคือการที่เราด่ากันออกทีวี โทษหนักสุดคือสองปี แต่ว่าพอมาเป็นเฟซบุ๊กกลายเป็นโทษสูงสูดเกิน5ปี ถ้าหมิ่นประมาทยังมีข้อยกเว้นว่าเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตอันเป็นวิสัยของคนพึงกระทำแต่อันนี้ไม่มี การต่อสู้ในมาตรา 14(1)ก็สร้างภาระให้กำจำเลยจำนวนมาก บางคนก็ติดคุก คดีที่เรารู้ว่าติดหนักที่สุดคือ อานดี้ ฮอลล์ หลายคดีพอต่อสู้ก็ยกฟ้อง แต่กว่าจะยกฟ้องก็ต้องมาต่อสู้กันว่าจริงหรือเท็จ มันก็เป็นภาระจำเลย เปลืองทรัพยากรประเทศชาติในการที่ต้องมาสู้คดีพวกนี้ อันนี้คือข้อเสียของ มาตรา14(1)ในการใช้กฎหมายผิดเจตนารมณ์  และ มาตรา14(1) เป็นความผิดทางอาญา หากคู่ความเจรจาตกลงกันได้ ก็ไม่สามารถยอมความได้ ทำให้เปลืองทรัพยากร

 คือเท็จนี่มันผิดมันไม่จริงแน่ๆ แต่บิดเบือนนี่คือมันอาจจะจริงบางส่วนแต่เติมความคิดเห็นไปหน่อย มันอาจจะไปบิดเบือนก็ได้หรือไม่ บิดเบือนนี้ไม่มีเข้าใจว่า นิยาม แล้วก็ไม่มีกฎหมายไหนเขียนมาก่อน ยกเว้น พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งกว้างมากเหมือนกัน การแก้กฎหมายครั้งนี้มีการเอาคำว่าโดยทุจริตโดยหลอกลวงเข้ามาเหมือนว่าจะดีขึ้นนิดหน่อยว่าเป็นเรื่องของทรัพย์สินไม่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นแต่พอใส่คำว่าบิดเบือนขึ้นมาเป็นห้ามการแสดงความคิดเห็นที่ กว้างและไร้ขอบเขตจนเราไม่วามารถรู้ได้เลยว่าอะไรจะผิดหรือไม่ผิด 

 

ยิ่งชีพ กล่าวว่า ตำรวจอัยการศาลเห็นตรงกันหมดว่ามีปัญหา จึงแก้ว่า ผู้ใดโดยทุจริตโดยหลอกลวงที่บิดเบือน พอใส่คำว่าทุจริตเหมือนกันว่าจะเอาผิดคนด้วยทรัพย์สินแต่พอไปใส่คำว่าที่บิดเบือนแปลว่าเป็นการไปเอาผิดที่เนื้อหา คือเท็จนี่มันผิดมันไม่จริงแน่ๆ แต่บิดเบือนนี่คือมันอาจจะจริงบางส่วนแต่เติมความคิดเห็นไปหน่อย มันอาจจะไปบิดเบือนก็ได้หรือไม่ บิดเบือนนี้ไม่มีเข้าใจว่า นิยาม แล้วก็ไม่มีกฎหมายไหนเขียนมาก่อน ยกเว้น พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งกว้างมากเหมือนกัน 

การแก้กฎหมายครั้งนี้มีการเอาคำว่าโดยทุจริตโดยหลอกลวงเข้ามาเหมือนว่าจะดีขึ้นนิดหน่อยว่าเป็นเรื่องของทรัพย์สินไม่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นแต่พอใส่คำว่าบิดเบือนขึ้นมาเป็นห้ามการแสดงความคิดเห็นที่ กว้างและไร้ขอบเขตจนเราไม่วามารถรู้ได้เลยว่าอะไรจะผิดหรือไม่ผิด

ยิ่งชีพกล่าวว่า เดิมในมาตรา14(2)ห้ามการนำเข้าข้อมูลที่เป็นเท็จโดยจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ เพียงอย่างเดียว  แต่ตอนนี้แก้แล้วเป็น  ห้ามการนำเข้าข้อมูลที่เป็นเท็จโดยจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และ โครงสร้างพื้นฐาน ก่อนหน้านี้มีคำว่าการบริการสาธารณะ ผมเห็นว่ามันกว้างที่สุด เช่น เราเห็นว่า แอร์มันหนาวจังเลยลดลงหน่อยได้ไหม มันก็อาจจะกระทบต่อการบริการสาธารณะของมหาวิทยาลัยก็ได้ หลังจากที่รณรงค์กันเยอะๆเขาก็ตัดคำนี้ออก

ยิ่งชีพ กล่าวว่า การโกหกไม่ควรผิดกฎหมาย อาจผิดศีลธรรมผิดศีล5 แต่ไม่ควรผิดกฎหมาย การโกหกในโลกออนไลน์ สร้างผลกระทบที่ต่ำเป็นพิเศษจริงรึเปล่า ผมไม่แน่ใจในโลกออนไลน์โดยเฉพาะเฟซบุ๊กมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งก็คือมันเป็นการศึกษาของทางและคอมเม้นได้ ถ้าเราไม่เห็นด้วยกันข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จเราก็สามารถไปคอมเม้นได้ว่าความจริงเป็นอย่างไรเท็จอย่างไรแล้วคอมเม้นนี้ก็จะติดไปกับโพตส์นั้น ทุกที่ที่มันไป มันก็พอเยียวยาได้ดีกว่าที่เอาคนมาจำคุกด้วยซ้ำ คนที่เสียหายก็ใช้ช่องทางนี้ในการชี้แจงโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลเมื่อถูกกล่าวหารัฐบาลแค่ส่งข่าวว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ ไทยรัฐก็พร้อมจะลงในวันนั้นทันทีทั้งออนไลน์และกระดาษ ข่าวที่มันเท็จมันก็สามารถหายไปได้เอง ดีกว่าการไปจับคนมาเข้าคุกแล้วปล่อยให้ข่าวลือมันแพร่สะพัดไป ส่วนใครที่เห็นว่าการโกหกมันเป็นความผิดก็เห็นต่างกันได้ไม่เป็นไร

มาตรา15ระบุว่า มีผลให้แอดมินเพจทุกคน รวมพึงเพจในเฟซบุ๊กต้องลบทุกอย่างที่เห็นแม้จะไม่แน่ใจว่าอันนั้นผิดหรือเปล่า ใครจะอยากขึ้นศาลให้ศาลตัดสินก็ลบไว้ก่อน มันทำให้ข้อมูลจำนวนหนึ่งซึ่งอยู่บนโลกออนไลน์มันหายไป คดีที่ชัดที่สุดคือคดีของ คุณจีรนุช เว็บมาสเตอร์ของประชาไท ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่า ข้อความที่ปล่อยให้อยู่บนเว็บไซต์นาน11วันแล้วลบยังไม่จงใจแต่เมื่อนานเกิน20วันแล้วลบถือว่าจงใจ ลงโทษจำคุก 8 เดือนรอลงอาญา ทำให้ทุกคนเลือกจะใช้วิธีลบไปก่อน ซึ่งมันไม่ค่อยดี ถามว่าเขาจะมีอะไรมาคุ้มครองบ้าง เขาเลยแก้มาตรา 15 ให้มีประกาศเรื่องขั้นตอนการแจ้งเตือนและระงับคือต้องให้แจ้งก่อน ถ้าได้รับการแจ้งแล้วลบ ก็ไม่ต้องรับโทษคือผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ถ้าดูขั้นตอนการแจ้งเตือนว่าใครแจ้งก็ได้ ต้องลบหมดมันก็จะทำให้ข้อมูลหายมากกว่าเดิม