Skip to main content

กระบวนการประชามติเรื่องมหาลัยออกนอกระบบที่ผ่านมานั้น 
อ่านอ่านยังไงก็ไม่ผิดว่าจะถูกฉีกทิ้ง โละทิ้ง ด้วยบทเรียนจากหลายมหาลัย ที่ติดตามเคลื่อนไหวมาตลอดหลายปี มันเป็นละครปาหี่

หลังจากที่ประชาคมแม่โจ้(ที่ไม่มีนักศึกษา) ได้ลงประชามติแล้วว่า มหาวิทยาลัยไม่มีความพร้อมที่จะออกนอกระบบ เป็นคะแนนเสียงข้างมาก ซึ่งทำให้ใครหลายๆคนอุ่นใจ ซึ่งไม่ใช่เราและเราก็ยังเอาเรื่องนี้คุยกับเพื่อนนักศึกษาเสมอมา

สองวันที่ผ่านมา สภามหาวิทยาลัย โดยการนำของกรรมการบริหารสภามหาวิทยาลัย ได้จัดให้มีการประชุม และมีมติออกมาว่า มหาวิทยาลัย มีความพร้อม ที่จะออกนอกระบบ โดยมีผู้ไม่เห็นด้วยเพียงสามคนเท่านั้น

เราเคยบอกนักศึกษาถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมา

ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าเทอม หรือระบบเหมาจ่ายต่างๆ รัฐให้งบประมาณน้อยลง ในทางเดียวกันแม่โจ้ก็มิได้มีแหล่งรายได้ต่างๆ ที่จะมาค้ำจุนอย่างเพียงพอ ทั้งอัตราค่าเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็จะขึ้น เป็นหลัก100%

แล้วเราถามว่างบประมาณจะมาจากไหนถ้าไม่ได้มาจากนักศึกษา

แม้การลงมติคราวที่แล้วจะลงมติไม่ให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ หากแต่ทั้งประชามติและมติในสภานั้น ต่างก็เป็น มติที่ล้มเหลว คือไม่ฟังเสียงของนักศึกษาผู้เสียผลประโยชน์โดยตรง

จากมหาลัยต่างๆ ที่ผ่านมาอธิการบดีย่อมมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เพราะในทางรัฐศาสตร์นั้นนี่คือเกมส์การสืบทอดอำนาจ อย่างชัดแจ้งชัดเจน เพราะหากใช้พ.ร.บ.เดิม อธิการบดี จะสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียงสองวาระเท่านั้น หากออกนอกระบบ จะอยู่เท่าไหร่ก็ได้

กระบวนการทำงานต่างๆ ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็จะง่ายขึ้นโดยการทำโครงการดังกล่าวนั้น จะไม่ต้องรอการสนับสนุนจากรัฐเป็นงบประมาณก้อนโตที่ช้า ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน แต่เงินที่จะใช้จากนั้นคือเงินรายได้มหาวิทยาลัย ที่มาจาก "นักศึกษา"

แม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยเกษตร ที่มีลูกหลานเกษตรกรเยอะแยะมากมายมาเรียน หากพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้เป็นชนชั้นที่มีทุนทรัพย์มากมายพอให้มหาวิทยาลัยในอัตราที่แพง รวมยังไปถึง กลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าต่างๆด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้จะทอดทิ้งพวกเขาเหล่านี้จริงๆ หรือ

การศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นเขาทำเป็นสวัสดิการทั้งสิ้นเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาไม่ใช่ระบบตลาดมหาวิทยาลัยกลายเป็นผู้ประกอบการการศึกษา เพื่อใช้ระบบทุน

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยบูรพาตอนนี้มีนักศึกษาเกือบแสน

บางคณะค่าเทอมพุ่งกระฉูด บางคณะ แก้ไขด้วยการเปิดภาคพิเศษเรียกเก็บค่าเทอม เป็นสองสามเท่าของภาคปกติ บางคณะ เพิ่มจำนวนนักเรียนในคลาสเป็นเท่าตัว และมากกว่านั้น เพื่ออะไรครับ ก็เพื้อเงินสิครับ

สิ่งที่นักศึกษาหวาดกลัวก็คือ การที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากน่าเทอม ซึ่ง อาจจะเพิ่มขึ้นมากหรือไม่มากหรือคงที่ก็ได้ แต่มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบแล้วมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อยๆๆ

ที่นี้นักศึกษาสามารถเชื่อใจอะไรผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ เมื่อการประชามติขององค์กรก็ไม่ถามนักศึกษา และเมื่อประชามติไม่ผ่านก็แอบไป ลงมติในสภามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย เป็นของท่านไม่ใช่ของเราอย่างนั้นหรือครับ

หลังจากนี้ ที่สภามหาวิทยาลัยลงมติ ว่ามีความพร้อมที่ตะออกนอกระบบ ก็เป็นเรื่องที่ทางมหาวิทยาลัย จะต้องส่งข้อมูลต่างๆ ไปให้หน่วยงานที่กำกับดูแล และชงเข้าสู่ สนช.ให้เร็วที่สุด เพื่อให้อยู่ในยุคของรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่จะทำให้ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น ผ่านไป อย่างรวดเร็ว

ซึ่งรัฐสภา สนช.นี้ก็มีผู้นั่งเก้าอี้เป็นอธิการบดีจำนวนไม่น้อยในสภา เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ขยิบตาก็รู้กัน

ครั้งที่แล้วมติผ่าน 4มหาลัยฉลุย แทบดูไม่ทันในวันเดียว คือธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น และสวนดุสิต ถ้าเรื่องส่งจากมหาวิทยาลัยเข้าไปสู่ สนช.เมื่อไหร่ละก็ ไม่ต้องห่วง ผ่านแน่เพราะนั้นเป็นนโยบายการลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐ อยู่ดีดีมีคนบอกว่าท่านไม่ต้องให้ตังค์เราแล้วนะ โอ๊ยใครก็ชอบ เพราะเงินที่จะต้องให้ก็จำนำไปโยกให้ส่วนอื่น เอร็ดอร่อยกันใน สนช.สบายๆ

ทิศทางตอนนี้ ออกหน่ะมันออกแน่ๆ แล้วนักศึกษาทั้งหลายจะต้องหน้ารับกรรมกระนั้นหรือ ผมไม่เห็นด้วย ขอให้ท่านใช้เสรีภาพของท่านในการสนับสนุนเสรีภาพของเรา การทำงานของ สภามหาวิทยาลัยขาดการมีส่วนร่วมของนักศึกษา เท่ากันว่าสภามหาวิทยาลัย ดำเนินการทำงานอย่างไร้หลักธรรมมาภิบาล ไม่มีความชอบธรรม

นักศึกษาทั้งหลายโปรดคิดดูเถิดว่าหลังจากนี้ท่านทั้งหลายควรจะทำอย่างไรต่อไป

 

หมายเหตุ : บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'แม่โจ้เสรีเพื่อประชาธิปไตย' เมื่อวันที ่1 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยในวันนี้(4 ธ.ค.58) กลุ่มดังกล่าวได้มีการจัดกิจกรรม ร่วมกันเขียนโพสอิส 'ลูกแม่โจ้อยากบอก เราไม่ออกนอกระบบ' เวลา 12.00 น. ณ โรงอาหาร เทิดกสิกร ม.แม่โจ้ เพื่อแสดงให้เป็นว่าเสียงของนักศึกษามีคุณค่าและมีพลัง ดู https://www.facebook.com/events/451970198320885/