Skip to main content

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา กลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ชายแดนใต้ จัดกิจกรรม “นิทานพาเพลิน”โดยเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ GenA พลังอ่าน เปลี่ยนเมือง ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ที่ให้การสนับสนุนในการให้เยาวชนจัดกิจกรรมในการส่งเสริมและสร้างวัฒนธรรมรักการอ่านแก่เด็กๆในพื้นที่ต่างๆ ในการนี้กลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ชายแดนใต้ ในฐานะที่เป็นกลุ่มกิจกรรมที่ร่วมกันเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์แก่เด็กๆในพื้นที่3จังหวัดชายแดนใต้ จึงได้ร่วมเป็นเครือข่ายในโครงการ GenA พลังอ่าเปลี่ยนเมือง ซึ้งกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ได้จัดเตรียมแผนในการลงพื้นที่ทำกิจกรรมกับน้องๆ โรงเรียนชุมชนบ้านปาตา ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยจะลงพื้นที่ทำกิจกรรมในทุกๆวันเสาร์

เป็นจำนวน 10 สัปดาห์ ซึ้งแต่ละสัปดาห์ก็จะเปลี่ยนการจัดกิจกรรมเป็นตอนๆ ไป ในแต่ละสัปดาห์ก็จะจัดกิจกรรมที่หนุนเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของน้องๆในการสร้างวัฒนธรรมรักการอ่าน

นางสาวปรียานันท์ ทวีรัตน์ หรือน้องเชอร์รี่ ประธานโครงการเยาวชนสร้างสรรค์ฯตอนเล่านิทานพาเพลิน ได้เล่าว่า “กิจกรรมวันนี้เป็นกิจกรรมที่ทำภายใต้โครงการ GenAพลังอ่าน เปลี่ยนเมืองของ สสส. และเป็นครั้งแรกของกลุ่มจากจำนวนที่จะลงทำกิจกรรม 10 ครั้ง โดยการเป็นกลุ่มแรกนี้เองทำให้การจัดการต่างๆทั้งเรื่องสถานที่ เวลา โดยจะมีข้อผิดพลาดในช่วงแรกๆ แต่ก็สามารถปรับแก้และทำตามแผนที่วางไว้ได้ ในการลงพื้นที่ครั้งที่1นี้ กลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ชายแดนใต้ ได้ทำกิจกรรมในตอน “เล่านิทานพาเพลิน” เป็นตอนที่สร้างกระบวนการเรียนจินตานาการแก่เด็กๆเพื่อสร้างวัฒนธรรมรักการอ่าน โดยคิดว่าการรักการอ่านไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยให้เด็กอ่านหนังสือแต่เริ่มด้วยสร้างจินตนาการให้เขาก่อนและหลังจากนั้นเขาจะเกิดความอยากในการจะรักการเรียนรู้และรักการอ่านในที่สุด โดยในตอนแรกได้เตรียมกิจกรรมจำนวน 5 กิจกรรม แต่อย่างที่ว่าไว้ตอนต้นเวลาไม่เพียงพอมากนักจึง สามารถจัดกิจกรรมแค่ 3 กิจกรรม คือกิจกรรมรู้จักฉันรู้จักเธอ เป็นกิจกรรมที่ให้น้องๆ เเละพี่ๆ สตาฟ เเนะนำตัว เเละเล่นกิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างความคุ้นเคยก่อนเริ่มกิจกรรมต่อไป

กิจกกรมที่สองเป็นกิจกรรม ให้พี่ๆ สตาฟ เเบ่งน้องๆออกเป็นสามกลุ่ม เเละพี่ๆ สตาฟเเต่ละกลุ่ม ก็จะเล่านิทานสนุกๆ ให้น้องๆ ในกลุ่มฟัง พร้อมทำท่าทางประกอบการเล่านิทานไปด้วย

กิจกรรมที่สามหลังจากน้องๆรับประทานอาหารว่างพี่ๆ สตาฟเเต่ละกลุ่ม หลังจากเล่านิทานเมื่อช่วงที่ผ่านมา ก็ได้อธิบายเเก่น้องๆ ว่า หลังจากนี้จะให้น้องๆเเสดงละครกัน ซึ้งละครที่ว่าคือละครที่เป็นนิทานที่พี่ๆสตาฟได้เล่าในช่องก่อนหน้านี้ พี่ๆก็เเจกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเเสดง พี่ๆสตาฟก็นำน้องๆในกลุ่มตัวเอง ไปซ้อมแสดงนิทานเเก่น้องของเเต่ละกลุ่ม เพื่อนำมาเเสดงให้เพื่อนๆ ได้ดู ซึ้งเเต่ละกลุ่ม พี่ๆ สตาฟจะเล่านิทานเรื่องไม่เหมือนกัน เเละก็ให้น้องๆ กลุ่มตัวเองเเสดงตามนิทานที่เล่าเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่พี่ๆเเต่ละกลุ่มเล่า มาถ่ายทอดให้เพื่อนๆกลุ่มอื่นได้รับชมกัน ซึ้งในการเเสดงนี้ก็ได้สร้างเสียงหัวเราะเเก่น้องๆ เเละพี่ๆ กัน เเละยังถือว่ากิจกรรมนี้เป็นการสร้างวัฒนธรรมการอ่านโดยผ่านกระบวนการเล่านิทานและการแสดงนิทานเพื่อนำไปสู่จินตนาการของน้องๆที่ส่งผลให้เขาสามารถเป็นพลังในการอยากเรียนรู้การอ่านไปด้วย และยังช่วยสร้างความกล้าเเสดงออกให้น้องๆพร้อมๆ อีกด้วย ทั้งนี้หากจะลงทำกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปก็จะนำข้อผิดพลาดไปแก้ไข้ในครั้งต่อๆ ไปด้วยเช่นกัน”

นางสาวสุธิดา พรหมเอียดหรือน้องบีม ซึ้งเป็นพี่สตาฟในครั้งนี้ก็เล่าว่า “วันนี้ได้เล่านิทานให้น้องๆฟังและให้น้องๆได้แสดงบทบาทสมมติในการเล่านิทานอีกด้วย รู้ดีใจมากๆ ที่น้องๆ ให้ความร่วมในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการในที่สุด”

และพี่สตาฟอีกท่านอย่างนายกันตพิชญ์ เสนาธิบดี ได้สะท้อนเพิ่มเติมว่า “ผมเป็นคนนอกพื้นที่ ไม่ใช่คน3จังหวัดชายแดนใต้ พอมาทำกิจกรรมในตอนแรกๆเด็กพูดภาษามลายูกับตัวเอง ซึ้งผมพูดและฟังภาษามลายูไม่ได้ ก็รู้สึกว่าตัวเองจะสื่อสารกับน้องๆ ยังไงดี แต่พอบอกน้องๆ ว่าผมพูดภาษามลายูไม่ได้ น้องๆก็เปลี่ยนมาพูดภาษาไทยแทน ก็รู้สึกโล่งใจไป อีกทั้งน้องๆก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างมากเพราะในตอนแรกๆ ก่อนลงพื้นที่ ผมมีความคิดว่าเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้ คงไม่ให้ความร่วมมือมากนัก แต่แล้วพอลงมาทำกิจกรรมจริงๆทำให้ต้นได้มองในแง่มุมใหม่ๆ ว่า เด็ก3จังหวัดก็มีความกล้าแสดงออกและให้การตอบรับเป็นอย่างดี”

รูป พี่ๆสตาฟซ้อมการแสดงแก่น้องๆก่อนให้น้องแสดงนิทานบนเวที

นางสาวแสงอรุณ นกแอนหมาน ประธานกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ชายแดนใต้ได้เล่าปิดท้ายว่า “วัตถุประสงค์ของกิจกรรม GenA พลังอ่าน เปลี่ยนเมือง ก็คือ ส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กๆในพื้นที่ให้สนใจการอ่านมากยิ่งขึ้น ผ่านกระบวนการกิจกรรมนันทนาการ ที่ต่างจากการอ่านหรือเรียนในหนังสือ ซึ้งกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ชายแดนใต้ก็ได้ออกแบบและวางแผนในจัดกิจกรรมโดยแบ่งเป็นลงพื้นที่จำนวน 10 สัปดาห์ โดยการวางแผนกิจกรรมเป็น 10 ตอน สัปดาห์ละตอน ซึ้งสัปดาห์นี้เป็นตอนแรก ชื่อตอนว่า “เล่านิทานพาเพลิน” โดยกิจกรรมวันนี้เป็นครั้งแรกของการลงพื้นที่ก็ผ่านไปด้วยดี ได้รับความสนใจจากน้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม พี่ๆ สตาฟก็ได้มีการเรียนรู้การทำกิจกรรมมากขึ้น”

ทั้งนี้ในช่วงท้ายของกิจกรรม พี่ๆ ได้ให้น้องๆประเมินโดยการให้คะแนนการจัดกิจกรรมของพี่ๆ ปรากฏว่าน้องๆต่างพากัน ให้คะแนนพี่ๆสตาฟตัวเองคนละ 10 คะแนนเต็ม และมอบรอยยิ้มและเสียงปรบมือเป็นการส่งท้าย