Skip to main content

รุ่นพี่และรุ่นน้องปี 1 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมประเพณีที่โดดเด่นและสำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เรียกกันว่า “ประเพณีรับน้องขึ้นดอย” โดยกิจกรรมเดินขึ้นดอยปีนี้ ผู้ร่วมกิจกรรมต่างแชร์ภาพและติดแฮชแท็กว่า #cmutrekking2015 กันถ้วนหน้า

ภาพจาก Facebook : Nattawat Chairob

ภาพจาก Facebook : Baifern Prakaipet

ชมคลิปบรรยากาศรับน้องขึ้นดอย https://www.youtube.com/watch?v=wFU0XPhK3d8 คลิปวิดิโอจากเว็บไซต์ youtube user prcmu239

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2558 เวลาประมาณ 06.00 น. สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดกิจกรรมรับน้องขึ้นดอยประจำปี 2558 ที่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีนักศึกษาทุกคณะและทุกชั้นปี รวมถึงศิษย์เก่ามาร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง

โดยกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่รุ่นพี่นักศึกษาและรุ่นพี่ศิษย์เก่าจะพาน้องๆนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เดินขึ้นดอยสุเทพเพื่อสักการะพระบรมธาตุดอยสุเทพที่อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถึง 11 กิโลเมตร และถึงแม้ว่ากิจกรรมนี้ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดมาแล้วเป็นกิจกรรมปีที่ 51 แต่รุ่นพี่ศิษย์เก่ายังคงกลับมาให้กำลังใจน้องอย่างอบอุ่นเช่นเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงานรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ในปีนี้สิ่งที่อาจจะดูแปลกตาคือ โลกออนไลน์ต่างแชร์ภาพกิจกรรมรับน้องขึ้นดอยพร้อมติดแฮชแท็ก #cmutrekking2015  ดังภาพ

 

อย่างไรก็ตาม พบว่าแฮชแท็กดังกล่าวเป็นการรณรงค์จากทางสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งทางสโมฯได้โพสข้อความลงในแฟนเพจ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า

“ร่วมกันโพสต์ภาพรับน้องขึ้นดอยประจำปีนี้เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวของชาว มช. ด้วยการแฮชแท็ก ‪#‎CMUtrekking2015 กันนะครับ”

(credit : https://www.facebook.com/SMOCMU/photos/a.751321761545615.1073741829.751144738229984/1073905845953870/)

แต่ในอีกด้านหนึ่ง ปรีชภักดิ์ ทีคาสุข นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่และนักเขียนอิสระ ผู้ร่วมกิจกรรมรับน้องขึ้นดอย กล่าวว่า “cmutrekking จริงๆ ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่อะไรเลยนะ ปีที่แล้วก็มี แต่ที่มันดัง และ widespread มากๆในปีนี้คิดว่าน่าจะมาจากการโปรโมท pr จากสโมกลาง ของมหาลัย ที่มาเชิญชวนรณรงค์ให้นักศึกษานำ hashtag นี้ไปใช้ ในโปรแกรม social media หลายๆชิ้น เช่น facebook, instagram หรือแม้แต่ twitter คือจริงๆแล้วไม่อยากให้เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ เพราะมันก็แค่เหตุการณ์เดิมๆ (เพิ่มเติมคือ hashtag) มันเป็นเพียงการนำอุปกรณ์และฟังก์ชั่นของแอพจำพวก social media (ที่มีการตั้งค่าให้เชื่อมกันระหว้่างตัวฟังก์ชั่นของ hashtag ที่สามารถกดเข้าไปค้นดูได้ว่ามีใครพูดถึงอะไรไว้เกี่ยวกับ hashtag นั้นๆ) ถือว่าสโมกลาง รู้จักหาวิธีในการโปรโมทและช่องทางในกระจายเรื่องของกิจกรรมมหาลัยผ่าน ระบบของ social media อย่าง hashtag ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่กดไลค์หรือ กด follow ตัวเพจ ตัวองค์กร ก็ยังสามารถที่จะเข้าถึงรูปภาพ คำบรรยาย หรือเข้าถึงบรรยากาศของงานได้ง่ายๆ แค่เพียงพิมพ์ hashtag ดังกล่าว”