Skip to main content

 

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558 กลุ่มพลเรียน จัดกิจกรรมพลเรียนเสวนา เรื่องการศึกษากับการสร้างพลเมือง  เวลา 9.30-13.00น. ที่ห้อง EB 4509 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรคือ

1.ดร.วัฒนา อัคคพานิช นักวิชาการอิสระ Thai Civic Education

2.ดร.นันท์นภัส แสงฮอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.อาจารย์ ปุณิกา อภิรักษ์ไกรศรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

โดยอาจารย์วัฒนา  พูดเรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง  การสร้างพลเมืองในรูปแบบประชาธิปไตยในวิชาหน้าที่พลเมือง  โดยการชี้ให้เห็นว่านักเรียนนั้นเบื่อการเมือง จึงต้องกระตุ้นให้นักเรียนคิด และเห็นความสำคัญของการเมืองก่อน โดยการใช้วิธีสอนแบบโซคราติส  หมายถึงการ ถามไปเรื่อยๆ เพื่อหาคำตอบ  ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้นักเรียนเกิดความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงได้  เนื่องจากได้ใช้ความคิดอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างเช่นคำถามว่า เราอยู่คนเดียวได้หรือไม่?  หรือไม่มีนักการเมืองได้หรือไม่ถ้านักการเมืองเป็นปัญหา?

นอกจากนี้อาจารย์วัฒนายังแสดงให้เห็นว่าแม่แต้เด็กๆก็เกี่ยวกับการเมืองเช่นกัน  โดยมีส่วนร่วมในการเสียภาษีทางอ้อมซื้อของต่างๆไรชีวิตประจำวัน เมื่อกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจตนเองในพื้นที่การเมืองมากยิ่งขึ้นซึ่งระหว่างการบรรยาย  และอาจารย์ยังกล่าวอีกว่าการสอนความเป็นพลเมืองนั้นไม่ใช่สอนให้นักเรียนมีจิตอยากช่วยเหลือสังคม ทำตามกฎหมายเท่านั้น  แต่ต้องรู้จักตัวเองในสังคมและเข้าใจที่มาของปัญหาด้วย

ทางด้านอาจารย์นันท์นภัส  พูดในหัวข้อ การศึกษาสร้างความเป็นพลเมือง หรือ ความเป็นพลเมืองสร้างการศึกษา ซึ่งอาจารย์ได้พูดถึงความเป็นพหุวัฒนธรรม ความหลากหลายของผู้เรียนที่หลักสูตรแกนกลางไม่ตอบโจทย์  โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มกลุ่มต่างชาติที่เข้ามาศึกษาในไทย เสมือนกับรัฐไม่นับคนกลุ่มนี้เป็นพลเมือง ทางอาจารย์สนับสนุนให้หลักสูตรมีอิสระมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาตามบริบทพื้นถิ่นนั้นๆ

และอาจารย์ปุณิกา  ได้เล่าประสบการณ์การสร้างความเป็นพลเมืองให้กับนักศึกษา ผ่านการเรียนและกิจกรรมของนักศึกษา  เช่นว่าไปพูดคุยกับนักศึกษาให้ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้สอดครั้งกับคณะมากขึ้น และไม่ทำลายความเป็นพลเมืองในทางอ้อม  อย่างเช่นการให้พี่ระเบียบหรือพี่วินัย  ลอกเปลี่ยนไปใช้คำเรียกอื่น เพื่อให้บรรยากาศในการทำกิจกรรมเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนที่พี่ดุตะคอก เป็นการพูดเสริมแรง ให้กำลังใจน้อง นอกจากนี้อาจารย์ยังเป็นตัวอย่างในการเป็นพลเมืองให้กับนักศึกษาเช่นการออกไปร่วมกับชาวบ้านให้ความรู้ในการต่อสู้เรื่องเขื่อน โดยนำประเด็นปัญหามาสะท้อนและแลกเปลี่ยนกับนักเรียนในห้องเรียนและแนะนำนักศึกษาที่สนใจ  เข้าไปร่วมเรียนรู้ต่อสู้กับชาวบ้านได้

ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความคึกคักและแลกเปลี่ยนการอยู่ตลอดเวลา  สร้างการมีส่วนร่วมและการฉุกคิดให้ผู้ฟังได้อย่างมากมาย ซึ่งถึงแม้งานจะเริ่มช้ากว่ากำหนดและจบช้ากว่ากำหนดแต่ก็ไม่มีปัญหาอื่นๆในกรจัดกิจกรรมดังกล่าว

ติดตามคลิปเสวนาได้ใน Fan page พลเรียน https://www.facebook.com/eduzenthai