Skip to main content

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์จีน - รัสเซีย: การท้าทายระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา” ซึ่งจัดโดยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยวิทยากรที่มาบรรยายในการบรรยายมีดังนี้ ศ.ดร.สุรชัย ศิริไกร (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) รศ.ดร. นภดล ชาติประเสริฐ (สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) อาจารย์ ดร. กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ (โครงการรัสเซียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และ ผู้ดำเนินการอภิปราย อาจารย์จิตติภัทร พูนขำ (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

การเกิดขึ้นมาของประเทศมหาอำนาจใหม่

นภดลกล่าวว่า จากมุมมองในทางประวัติศาสตร์นั้น ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมในศตวรรษที่19 ของทวีปยุโรปได้ส่งผลต่อสังคมโลกเรื่อยมาจนถึงช่วงเวลาของสงครามครั้งที่ 2 และเมื่อในยุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นประเทศที่โดดเด่นขึ้นมาในทุกด้านมากกว่าประเทศอื่นๆ ดั่งเช่นสหภาพโซเวียตก็เริ่มต้นจากการฟื้นตัวจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ส่วนประเทศจีน ญี่ปุ่น หรือประเทศอินเดียก็ยังคงเป็นประเทศที่ไม่ค่อยจะมีบทบาทที่ชัดเจนต่อสังคมโลก แต่เมื่อหลังปี ค.ศ. 2000 การเติบของประเทศจีนได้มีความเจริญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ ประเทศรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตเดิมนั้นได้กลายเป็นประเทศที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในเวทีโลกแต่ก็ไม่ได้ก้าวขึ้นมาเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศญี่ปุ่น ประเทศ และสหภาพยุโรปนั้นเริ่มมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในเวทีโลก ซึ่งสิ่งนี้ทำเกิดการสลับขั้วและมีหลากหลายขั้วที่ชัดเจนและประเทศทั้งหลายก็ล้วนมีผลประโยชน์ที่ซ้อนทับกัน  

สุรชัยกล่าวว่า สหรัฐอเมริกาประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกมาเป็นเวลานานแต่ได้ถอนตัวออกำจากภูมิภาคเอเชียในช่วงเวลาของสงครามเวียดนามแต่ได้หวนกลับเข้ามาสืบเนื่องจากผลกระทบที่ได้รับจากดินแดนตะวันออกกลางและการเติบโตของประเทศจีนจึงทำให้สหรัฐอเมริกาเริ่มที่จะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียแต่ ท่าทีของสหรัฐในฐานะมหาอำนาจนั้นนำไปสู่ความไม่พอใจของประเทศรัสเซียและประเทศจีน สิ่งนี้ได้ทำให้ผู้นำของประเทศจีนได้เสนอให้มีการจัดทำแถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาซึ่งจะเป็นในลักษณะของความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ ทำให้ประเทศจีนและสหรัฐอเมริกามียุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันแต่ในช่วงเวลาปัจจุบันของการมีประเทศมหาอำนาจที่เพิ่มมากขึ้น และมีการสลับขั้วของในแต่ละประเทศทำให้แต่ประเทศล้วนที่จะมุ่งแสวงหามิตรประเทศดีเพื่อผลประโยชน์ของประเทศของตน

กัณฐัศศา กล่าวว่า ในมุมมองทางด้านวัฒนธรรมประเทศจีนประเทศรัสเซียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันโดยเฉพาะอย่ายิ่งในทางวัฒนธรรมทางการเมืองโดยเฉพาะในเรื่องของการสืบทอดทายาททางการเมืองโดยขึ้นอยู่กับตัวผู้นำเป็นหลัก ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันดีมาเป็นเวลายาวนานมีความพยายามที่จะจัดระเบียบโลกใหม่เพราะสืบเนื่องจากความไม่พอใจต่อสหรัฐอเมริกาและเพื่อให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสิ่งกล่าวมานั้นเป็นการจับมือกันและท่าทีของประเทศมหาอำนาจใหม่ที่มีต่อสหรัฐอเมริกา

 การเติบโตของประเทศมหาอำนาจใหม่ในปัจจุบันนั้นได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวของผลประโยชน์ที่ชัดเจนและเป็นประเทศที่มีความเป็นผลวัตสืบเนื่องจากโลกเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงนั้นได้เป็นโลกของการเจรจาเพิ่มมากขึ้นและมีประเทศที่มีการแบ่งขั้วที่ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแต่ละประเทศล้วนจะจัดกลุ่มประเทศของตนเพื่อผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจดังเช่นกรณีของการที่ประเทศจีนและรัสเซียต่างที่จะเข้ามาอิทธิพลในดินแดนยูเรเซียทำให้สหรัฐเริ่มที่จะพยายามเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ด้วยเช่นกัน และการเข้ามามีบทบาทของประเทศสหรัฐอเมริกาในดินแดนแห่งนี้เป็นสิ่งที่น่าจับตามองไม่มากก็น้อย