Skip to main content

จากกิจกรรมสปอตเดย์ของคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมามีกระแสตอบรับเป็นอย่างดี(อ่านรายละเอียด) เด็กหลังห้องจึงสัมภาษณ์กลุ่มผู้จัดทำและผู้ชมกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ ผู้ดูแลกิจกรรมสปอตเดย์แอนด์สปอตไนท์ ผู้คิดธีม ผู้รับชมการแสดง และผู้แสดง

การแสดง “ความสุข(Happiness) ?” รัฐศาสตร์ มช. ล้อการเมือง ‘สุชน’

เด็กหลังห้อง : เห็นด้วยหรือไม่กับการจัดกิจกรรมแสตนต์เชียร์เสียดสีการเมือง?

ผู้ดูแลกิจกรรม : เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว ซึ่งเห็นว่าไม่เพียงแค่แสตนเชียร์เท่านั้น และก็อาจจะไม่ใช่ประเด็นทางการเมืองเพียงอย่างเดียว ควรจะมีประเด็นทางสังคมด้านอื่นๆ ที่สามารถจะนำมาสะท้อนความเป็นไปต่างๆ ให้เกิดการตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์สังคม และแสวงหาแนวทางที่ควรจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องให้กับสังคม

ประเด็นที่แสดงออกไปคิดว่ามันมีผลอะไรต่อสังคม?

ผู้ดูแลกิจกรรม : ประเด็นทางการเมืองที่แสดงออกไปโดยนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในงานสปอร์ตเดย์ แอนด์สปอร์ตไนท์ ที่ผ่านมานั้น หากจะสามารถส่งผลต่อสังคม ก็คงจะเป็นการส่งผลในการสะกิดสังคม โดยเฉพาะในสังคม มช. ที่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความตื่นตัวกับประเด็นทางการเมืองหรือประเด็น ทางสังคมด้านต่างๆ ที่น้อย (เพราะกิจกรรมนักศึกษาส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เน้นไปในทางให้ความ บันเทิง มากกว่าจะสะท้อนองค์ความรู้แก่สังคม หรือการออกมาพูดถึงปัญหาของสังคม) ซึ่งนั่นจริงๆ แล้วถือว่าเป็นอีกหน้าที่ของปัญญาชน ที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่สังคม โดยการชวนสังคมตั้งคำถาม และให้แง่คิดแก่สังคม ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมานั้นก็ส่งผลในการกระตุ้นเตือนสังคม และสื่อสารไปยังสังคมว่ายังมีนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยกับความไม่ถูกต้อง และยืนอยู่ข้างประชาชน

การตอบรับของผู้ชมเป็นอย่างไร สังคมเกิดกระบวนการคิดรึป่าว?

ผู้ดูแลกิจกรรม : สำหรับ การตอบรับนั้นต้องถือว่ามีการตอบรับที่ดีมากๆ โดยเฉพาะเมื่อมีคลิปวิดีโอบันทึกการแสดงออกไปในโซเชี่ยลมีเดีย มีทั้งนักวิชาการ นักคิด นักข่าว นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และประชาชนแชร์คลิป และพูดถึงเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นไปในทางชื่นชนต่อการที่คนรุ่นใหม่กล้าลุกขึ้นมานำเสนอปัญหา ของสังคมในช่วงเวลาที่เสรีภาพทางการแสดงออกถูกจำกัดอยู่เช่นนี้ และก็แน่นอนว่าเราก็ไม่ละเลยต่อคำวิจารณ์ในอีกด้านหนึ่งของคนที่ไม่เห็นด้วย กับการแสดงออกนี้ ซึ่งเขาก็มองว่าเป็นความไม่เหมาะสมภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ แต่โดยส่วนตัวกลับคิดว่านี้คือสิ่งที่เหมาะสม และบทบาทที่ดีที่สุดที่การแสดงจะได้พูดกับคน นักศึกษาจะได้ทำหน้าที่สื่อสารกับประชาชน

ถ้าหากจะมีการเซ็นเซอร์การทำกิจกรรมเสียดสีการเมืองตามที่มีกระแสออกมา(เหมือนงานบอลจุฬาธรรมศาสตร์) เห็นด้วยหรือไม่?

ผู้ดูแลกิจกรรม : ไม่ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะในสังคมประชาธิปไตย ที่อยู่กันด้วยความมีเหตุมีผล ต้องสามารถรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายได้ และหากฝ่ายความมั่นคง หรือมหาวิทยาลัยเองเห็นว่าการแสดงออกของนักศึกษาซึ่งไม่มีอะไรมากไปกว่า ความคิด คำพูด การเขียน การแสดงออก เป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคง นั่นก็แสดงว่าฝ่ายความมั่นคงที่มีอำนาจเต็มมือ แท้จริงแล้วก็ไม่ได้มีความชอบธรรมต่อการมีอยู่ของอำนาจ เพราะอำนาจที่เขามีอยู่นั้นช่างเปราะบาง เปราะบางแม้กระทั่งการเสียดสี จากนักศึกษามือเปล่า และหากมหาวิทยาลัยใดมีการสั่งงดกิจกรรมในลักษณะนี้มหาวิทยาลัยนั้นยิ่งต้อง มีการทบทวนตัวเองให้หนัก เพราะในสถาบันอุดมศึกษาควรเป็นสถาบันการศึกษาที่มีเสรีภาพทางวิชาการ และการแสดงออกของนักศึกษาดังกล่าวก็เป็นการเอาความรู้ทางวิชาการที่ได้เรียน มาจากในห้องเรียน มาวิเคราะห์สถานการณ์ และบอกเล่าสะท้อนความเป็นไปของสังคม ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจที่มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมมากกว่าปิดกั้น เพราะนักศึกษาเขาคิดเป็น และมีการพัฒนาทางความคิด

คิดว่าเหมาะสมสำหรับนักศึกษารึป่าวที่จะทำกิจกรรมเสียดสีการเมืองแบบนี้?

ผู้ดูแลกิจกรรม : คิด ว่าเหมาะสม เพราะนักศึกษาเป็นผู้ที่จะออกมาพูด ออกมาสื่อสารเรื่องราวเหล่านี้ได้ดีที่สุด เพราะนักศึกษาเป็นพลังบริสุทธิ์ ไม่อยู่ภายใต้กลุ่มการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การแสดงออกของนักศึกษาจึงเป็นการแสดงออกที่ปราศจากอคติ แต่แสดงออกถึงความถูกต้องผ่านสายตาของคนที่เป็นปัญญาชน เป็นพลังบริสุทธิ์ และเป็นวัยที่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์อันแรงกล้า ยังไม่ถูกบั่นทอนอุดมการณ์อันบริสุทธิ์จากสภาพสังคมในความเป็นจริง

คิดว่าควรจะมีกิจกรรมแสตนด์เชียร์เสียดสีการเมืองแบบนี้ต่อไปไหม?

ผู้ดูแลกิจกรรม : คิด ว่าควรจะมีต่อๆ ไป และไม่ควรจะจำกัดอยู่แต่เพียงในคณะรัฐศาสตร์เท่านั้น คณะอื่นๆ โดยเฉพาะในสายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ที่ควรจะมีการนำเสนอเนื้อหาที่สอดแทรกประเด็นทางสังคมบ้าง ไม่ใช่เอาแต่เน้นบันเทิง กับงบประมาณจำนวนมากที่ทุ่มลงไปแต่ไม่ได้สาระความรู้อะไรกลับมา ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องการเมืองอย่างเดียวอาจจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจ กฎหมาย การศึกษา สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ฯลฯ มีหลายเรื่องที่ปัญญาชนสามารถนำมาเป็นเรื่องราวที่จะนำเสนอได้ ซึ่งในปีนี้ก็เป็นที่น่าชื่นชมที่นอกจากรัฐศาสตร์ แล้วก็ยังมี คณะการสื่อสารมวลชนที่เล่นประเด็นการเสียดสีการเมือง คณะนิติศาสตร์ ที่เริ่มมาในแนวทางนี้เป็นปีแรก ในการพูดถึงประเด็นทางกฎหมาย ซึ่งก็น่าชื่นชมและเอาใจช่วยให้เกิดการนำเสนอที่สะท้อนสังคมออกมาอีกเรื่อยๆ

ทำไมต้องเลือกประเด็นความสุข (Happiness) ?

กลุ่มผู้คิดธีม : เรื่อง ของความสุขเป็นสิ่งพื้นฐานธรรมดาที่มนุษย์ทุกคนมี สลับกันไปในทุกวัน สุขบ้างทุกข์บ้างเป็นธรรมดา มันจึงเป็นเรื่องที่ควรดึงประเด็นมาตั้งคำถาม แล้วเชื่อมโยงกับประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้น

ะเด็ที่แสดงออกไปคิดว่ามันมีผลอะไรต่อสังคม?

กลุ่มผู้คิดธีม : ต้องการให้สังคมเกิดการตั้งคำถามแบบต่อยอด (critical) และตระหนักถึงเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นโดยสะท้อนผ่านเมืองที่ชื่อว่า สุชน ที่เกิดเหตุการณ์หลายๆอย่าง เช่นการได้ผู้นำจากการเลือกตั้ง โดยชอบธรรม(?) การเกิดการชุมนุมทางการเมือง การยึดอำนาจ และเหล่าผู้คนที่ให้การสนับสนุนภายในกลุ่มต่างๆ สิ่งเหล่านี้ก็ได้สะท้อนมายังสังคมในปัจจุบันและต้องการให้คนตั้งคำถามว่า พอได้หรือยังกับเหตุการณ์ซ้ำๆเหล่านี้

คิดว่าการตอบรับของคนรับชมเป็นอย่างไร ดีมั้ย สังคมเกิดกระบวนการคิดรึเปล่า?

กลุ่มผู้คิดธีม : การ ตอบรับ ในวงกว้างแน่นอนว่ามีทั้งดีและไม่ดี แต่ก็ทำให้เราได้รับความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆในสังคมปัจจุบัน และทำให้สามารถมองเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในหลายๆแง่มุมที่แตก ต่างออกไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถนำข้อวิจารณ์ดังกล่าวมาต่อยอดในการแสดงต่อๆ ไปในภายหน้า

ความหมายของการแสดง จะสื่ออะไร ต้องการให้ผลตอบรับเป็นแบบไหน?

กลุ่มผู้คิดธีม : คำตอบเช่นเดียวกับข้อก่อนหน้า

คิดว่าควรจะมีกิจกรรมแสตนด์เชียร์เสียดสีการมืองแบบนี้ต่อไปไหม?

กลุ่มผู้คิดธีม : ก่อน อื่นอยากจะบอกก่อนว่านี่ไม่ใช่การเสียดสีการเมือง แต่เป็นการเสียดสีสังคมในปัจจุบัน ที่เมื่อเกิดปัญหาอะไรก็ตาม คนกลุ่มหนึ่ง หรือหลายกลุ่มมักจะดำเนินกิจกรรมการเรียกร้อง (ก่อม๊อบ) และเมือไหร่ที่เหตุการณ์บานปลาย ทหารจะยื่นมือเข้ามาทกครั้งเพื่อแก้ปัญหา จึงอยากให้ตั้งคำถามว่าเราพอหรือยังกับการวนลูปแบบนี้ในสังคมที่เรากำลัง ดำเนินชีวิตอยู่

มีกระแสตอบรับออกมาว่ากิจกรรมเสียดสีการเมืองเป็นกิจกรรมที่มหาลัยควรเซ็นเซอร์ เห็นด้วยหรือไม่?

กลุ่มผู้คิดธีม : ส่วน ตัวคิดว่าการจำกัด หรือเซนเซอร์กิจกรรมต่างๆเป็นการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของนัก ศึกษา จึงไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ยกเว้นก็ต่อเมื่อหากการแสดงของนักศึกษาได้ล้ำเส้นเกินขอบเขตของคำว่า สิทธิและเสรีภาพ เวลานั้นค่อยมาเซ็นเซอร์กันดีกว่า และยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่ ในสถานศึกษา ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานศึกษายิ่งในระดับอุดมศึกษาแล้ว ควรเป็นแหล่งในการคิด เสรีภาพในการคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมในอนาคต ตราบเท่าที่เสรีภาพนั้น ไม่ได้ละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง

และที่ขาดไม่ได้คือกลุ่มผู้แสดงแสตนด์เชียร์ของกิจกรรมสปอตเดย์ คณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ได้รับเกียรติแสดงกิจกรรมดังกล่าว มีความเห็นต่อการแสดงกิจกรรมดังกล่าวว่าทำให้สังคมเกิดการตั้งคำถามหลายอย่างว่าสิ่งที่ได้รับมานั้นเป็นความสุขที่ควรจะได้โดยผ่านกระบวนการประชาธิปไตยจริงหรือไม่ การตอบรับคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแสดงออกถึงการเหน็บแนมทางการเมืองดังกิจกรรมที่จัด เพราะเนื้อหาที่แสดงออกไปเป็นข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นการสะท้อนโดยผ่านการล้อเลียนถึงปัญหาทางการเมือง ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มผู้แสดงยังมีความเห็นว่าการแสดงทำให้สังคมเกิดการตั้งคำถามหลายอย่างว่าสิ่งที่ได้รับมานั้นเป็นความสุขที่ควรจะได้โดยผ่านกระบวนการประชาธิปไตยจริงหรือไม่ อีกทั้งการแสดงยังก่อให้เกิดกระบวนการคิดของสังคมอย่างแน่นอน เพราะว่าสิ่งที่สื่อออกไป ชัดเจน เข้าใจง่าย เพียงแค่รับชมก็เข้าใจได้แล้วว่าสื่อถึงใคร อะไร และทำไม อีกทั้งเชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่เป็นปัญญาชน สามารถรับรู้ถึงการแสดงออกล้อเลียนการเมืองได้อย่างง่ายดาย

อย่างไรก็ตามทางด้านผู้ที่ได้รับชมการแสดงเห็นด้วยกับการแสดงส่วนหนึ่ง เนื่องจากเป็นประเด็นการเมืองที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ การแสดงเหล่านี้เป็นการเสียดสีการเมือง ณ ปัจจุบัน ส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงระบอบที่เราเผชิญอยู่ อีกทั้งคิดว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญของปัญญาชน นักศึกษาผู้มีความรู้ที่จะมีบทบาททางการเมืองต่อประเทศ

นอกจากนี้ก็มีกลุ่มผู้รับชมที่คิดว่าไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นนักศึกษาควรจะมีหน้าที่เรียน ไม่ใช่การเสียดสีการเมือง และคิดว่ายังไม่ใช่หน้าที่ของนักศึกษา