เมื่อวันเสาร์ที่ 7กุมภาพันธ์ 2558 กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา จัดงาน 5 ปีลูกชาวบ้าน 5 ปีแห่งการเติบโต ที่ร้านสเต็ก&ไวน์ บางร้อยพัน โดยงานเริ่มตั้งแต่ 16.00 น. โดยการเสวนาหัวข้อ “ขบวนการนักศึกษา กลุ่มลูกชาวบ้าน” ซึ่งมี กันต์ แสงทอง นักวิชาการอิสระ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มลูกชาวบ้านเป็นผู้กล่าวปฐกถาเกี่ยวกับขบวนการนักศึกษาที่ผ่านมา
สำหรับผู้ที่ขึ้นพูดเสวนาในครั้งนี้ได้แก่ ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว รองคณะบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ได้เห็นและให้คำแนะนำกลุ่มลูกชาวบ้านตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน ปกรณ์ อารีกุล NGO สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มลูกชาวบ้านในยุคแรก และบุญญบุตร สมบูรณ์พันธุ์ หรือ บอส นิสิตสาขาการสอนสังคมฯ คณะศึกษาศาสตร์ ปี 3 ผู้ประสานงานกลุ่มลูกชาวบ้านปัจจุบัน ร่วมอภิปราย
ดร.โอฬาร กล่าวถึง ลูกชาวบ้านที่พบเห็นว่า “5ปี เหมือนการเติบโตจากเด็กทารกขึ้นมา” ดร.โอฬาร ยังกล่าวว่ากลุ่มลูกชาวบ้านประกอบไปด้วยคนที่มีพรสวรรค์ที่แตกต่างและหลากหลายแต่สามารถรวมตัวกันได้ แต่มีจุดร่วมกันคือทำเพื่อสังคม พร้อมมองว่า คสช. ยังติดหล่มความคิด ผ่านการควบคุมนิสิตมหาลัยจากอาจารย์ แต่ความจริงนิสิตเหล่าได้มาเติบโตนอกมหาวิทยาลัย ส่วนลูกชาวบ้านจะวางตำแหน่งแห่งที่อย่างไรระหว่างปัจเจกที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ทุนนิยม และการขบคิดเพื่อแก้ปัญหาสังคม ภารกิจทางประวัติศาสตร์ เราจะวางยุทธศาสตร์กันอย่างไรเพื่อสืบทอดภารกิจลูกชาวบ้านต่อไปยังไง เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น
ปกรณ์ กล่าวถึงความเป็นมาของกลุ่มลูกชาวบ้าน โดยพูดผ่าน '1 เรื่องสั้น 3 บุคคล' ว่า จากร้านเหล้าร้านหนึ่งร้านโซลหลังจบงานเสวนางานหนึ่ง หลังจากนั้นก็เริ่มต่อสู้ในประเด็นบ่อขยะที่ระยองนั่น จึงถือเป็นจุดกำเนิดของลูกชาวบ้าน สำหรับเหตุการณ์หนึ่งคือคัดค้านค่าเทอมเหมาจ่าย ซึ่งเป็นการเริ่มต่อสู้ในมหาลัยจนนำไปสู่การพูดคุยกับองค์การสภาฯจนนำไปสู่การพูดคุยกับอธิการบดี และส่งผลให้ในปีนั้นทุกพรรคที่ลงสมัครมีนโยบายคัดค้านค่าเทอมเหมาจ่าย อีกเหตุการณ์หนึ่งคือการแก้ผ้าคัดค้านมหาลัยเกษตรออกนอกระบบ และเหตุการณ์นั้นได้ข่าวลงหน้า1 แต่ปรากฏข่าวลงว่าเป็น เด็กเกษตรแก้ผ้าคัดค้านค่าเทอมเหมาจ่าย ในความจริงแล้วคือมีเด็กเกษตร 2 คน เด็กจุฬา 1 คน ส่วนที่เหลือคือสมาิกกลุ่มลูกชาวบ้าน เรานั่งรถไปสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมและเราก็กลับมาเป็นคนธรรมดาที่บางแสน นี่แหละความเป็นลูกชาวบ้าน
ปกรณ์ พูดถึงบุคคล 3 คน คนที่ 1 คือ พี่ท๊อป ซึ่งเป็นที่คอยนำการต่อสู้เรียกร้องเสมอ คนที่ 2 คือ เสธ.เดียร์ ซึ่งเป็นเหมือนคนคอยดูแลเบื้องหลังของกลุ่มลูกชาวบ้าน ดูแลบ้าน เก็บกวาดสิ่งที่ลูกชาวบ้านทิ้งไว้ คนที่ 3 คือบอส ผู้ประสานงานคนปัจจุบันซึ่งมีบุคลิกค่อนข้างแตกต่างจากรุ่นพี่รุ่นก่อนๆ และก็เป็นคนหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์พี่ๆ ลูกชาวบ้านคนหนึ่ง และความแตกต่างคือสามารถจัดงานที่มีคนมางานหลักร้อยหรือทะเลาะกับ คสช. ได้ในคณะที่รุ่นเก่าๆ อาจทำได้แค่ทะเลาะกับยามหรืออธิการ
บุญญบุตร(บอส) กล่าวถึงลูกชาวบ้านที่เป็นไป โดย บอส กล่าวว่า แม้ตัวคนเดียวไม่สามารถบอกได้ว่าลูกชาวบ้านจะเป็นอย่างไรขึ้นกับเพื่อนๆน้องๆ
บอสมองว่า ”พวกเราลูกชาวบ้านเราพร้อมจะทำอะไรสักอย่าง อย่างที่ผ่านมาเช่น จัดงาน U-net งานจุดเทียน หรืองานโปรยใบปลิว แม้พวกเราจะไม่ใช่สาย Local แต่เราก็ยังเป็นลูกชาวบ้าน และในสัปดาห์หน้าก็อาจจะลงไปพื้นที่ปัญหาระยอง”
บอสกล่าวอีกว่า ถึงแม้เราจะเมาจะอะไรก็ตามแต่เราก็ยังขบคิดพูดคุยเรื่องปัญหาสังคมกันอยู่และเชื่อว่าเราพร้อมจะทำอะไรบางอย่างเพื่อสังคม
คำถามสุดท้ายที่ถามกับวิทยากรทั้ง3ท่านคือ ก้าวต่อไปอย่างไรนักศึกษา(ลูกชาวบ้าน) ดร.โอฬารกล่าวว่า “ไม่ค่อยเชื่อขบวนการนักศึกษา ขบวนการนักศึกษาตายไปแล้ว มีแต่ฟันเฟืองของทุนนิยม ที่เหลือก็แค่คนกล้าท้าทาย” ส่วนหนึ่งคือการจัดความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่ที่จบกับไปแล้วกับคนที่อยู่ โชคดีของลูกชาวบ้านคือมีความหลากหลายและมีพรสวรรค์ซึ่งลูกชาวบ้านควรขยายเขตงาน สร้างความเป็นธรรมกับเรื่องต่างๆในสังคม เพราะในทางยุทธศาสตร์อาจจะถูกโจมตีว่าเป็นกลุ่มการเมืองเป็นจุดอ่อนของลูกชาวบ้าน
“ผมคิดว่าลูกชาวบ้านเริ่มต้นจากสีแดง และค่อยจางมาเป็นสีส้มและในปี 5 ปี 6 ลูกชาวบ้านคงใช้แนวคิดแบบสีรุ้ง” ดร.โอฬาร กล่าว และแนะนำซุ้มของ ม.รามคำแหง ว่าเป็นตัวอย่างของการรักษากลุ่มที่ยึดโยงเครือข่ายได้แม้คนเก่าๆจะหมดไป แนะนำต่อว่าให้ควรใช้ระบบของมหาลัยหรือทางพี่ๆที่เป็น NGO ในการหาทุนช่วยเหลือบ้าง นอกจากอาจารย์ยังทิ้งประเด็นสุดท้ายไว้คือ ให้ระวังความขัดแย้งระหว่างนักคิดและนักปฏิบัติ ต้องให้คุยกัน
ปกรณ์ อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องต้าน คสช. ว่า ”ผมจะจัดงานทอร์คโชว์ แต่คสช.ไม่อยากให้มีใครบางคน ก็เลยสั่งเลิกงาน ผมก็อยากรู้ว่าทำไมก็เลยจะจัดแถลงข่าว เขาก็ไม่ให้จัด ผมก็เลยรู้สึกว่าผมไม่มีสิทธิ์พูดอะไรเลยเอาแลคซีนปิดปาก ก็เลยก็เรียกไปปรับทัศนคติ และข่าวก็ลงว่าพวกต่อต้านคสช.มาอีกแล้ว” ปกรณ์ได้กล่าวถึงกระท่อมเพื่อประชาชน บ้านหลังเก่าของกลุ่มลูกชาวบ้านและนึกถึงคำพูดของเพื่อนสนิท อัสราน เยรูซาเล็มว่า “เราแค่ไม่มีสิ่งที่เรามี แต่เราไม่ได้สูญเสียในสิ่งที่เราเป็น”
นอกจากนั้นปกรณ์บอกว่า “เราอาจจะไม่ได้มีขบวนการแบบ 14 ตุลา พี่บอล ภาคีไนย์ที่ นำนิสิตกว่า 1000 คนไปประท้วงม.นอกระบบ” สุดท้ายปกรณ์พูดว่าชื่อลูกชาวบ้านเป็นแบรนด์ที่ขายได้แต่ไม่อยากให้เป็นเหมือนไวน์ที่เทออกมาแล้วไม่มีอะไร
บอส แย้งประเด็นขบวนการ14ตุลาแต่ก็ยังหวัง ว่าถึงเพื่อนๆ ในกลุ่มที่หลากหลาย ทั้งกันกันฟาสซิส แชมป์โป้ สายสุขภาพ บางคนสายการ์ดเกม บอสกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาเคยทำกิจกรรมหลายอย่างกับพี่แชมป์ เช่น ลงสมัครสโมฯหรือการทำ Freedom zone ซึ่งก็เวิค และบอสยังคิดว่าเราควรทำกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัยต่อไป บอส ยังกล่าวไว้ว่าอีกไม่นานจะมีแพลนใหม่ๆ กิจกรรมที่น่าสนใจ ให้ทุกคนรอตามติดตามชม
นอกจากกิจกรรมเสวนาแล้วยังมีกิจกรรม ยังมีกาแข่งกินเบียร์และการร้องเพลงของกลุ่มลูกชาวบ้านเป็นการปิดงานในค่ำคืนนี้ เป็นงานกินเลี้ยงแบบอบอุ่นของกลุ่มลูกชาวบ้าน
- 17 views