Skip to main content

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เผยว่า ในปัจจุบันในข้อมูลเราได้ทำงานมามีเด็กนอกระบบการศึกษาที่อยู่ในวัยเรียนประมาณ 2 แสนคน เรามีเด็กยากจนอยู่ในระบบการศึกษาขั้นเพื่อนฐานอยู่ประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มากแต่ปัญหาเหล่านี้ถ้าน้องเขาไม่เดินมาหาเราที่บันไดBTS ไม่เป่าขลุ่ยอยู่ตามข้างทางบนถนนพหลโยธิน ให้เราได้เห็นปัญหานี้ก็เหมือนจะเป็นภูเขาน้ำแข็งก้อนใหญ่ที่เราเห็นแต่ยอดภูเขา แต่เราจะไม่เห็นปัญหาที่แท้จริงอยู่ในประเทศอยู่ในระบบการศึกษา ในปัจจุบันเพราะเราเข้าไม่ถึงข้อมูลเหล่านั้น ข้อเท็จจริงเหล่านั้นที่จะนำมาแก้ไขปัญหาได้ยังมีน้องๆต้องการ การช่วยเหลืออีกจำนวนมากในระบบการศึกษาแล้วในปัจจุบันเราแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไร ด้วยวิธีการอย่างไรบ้าง

1.เราให้เงินน้องเขาผ่านการให้เงินอุดหนุนประเภทต่างๆ เพื่อความคลาดหวังว่าเราจะเยียวยาให้ชีวิตความเป็นอยู่ของน้องเขาดีขึ้น  ถ้าเป็นเด็กประถมศึกษาก็อาจจะเดือนละ 170 บาท ถ้าเป็นเด็กมัธยมต้นก็อาจจะได้ประมาณ 2-3 บาท อันนั้นคือสิ่งที่เรามีให้อยู่แล้วถ้าเขาอยู่นอกโรงเรียนเราก็พยายามพาน้องเขาเข้าที่โรงเรียนแล้วก็แลกอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นเครื่องแบบอุปกรณ์เรียนตำราเรียนนั้นคือวิธีของปัจจุบันนี้ เราใช้อยู่แต่ให้เงินไปแล้วพาไปเข้าโรงเรียนแล้ว ทำไมเรายังเห็นภาพข่าวเหล่านี้อยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวันทุกสัปดาห์ทำไมสื่อมวลชนถึงตัวน้องเหล่านี้ก่อนแล้วรายงานข่าวเช้านี้ก็มาเปิดบัญชี น้องเหล่านี้จนเงินบางคนได้เป็นล้านบางคนได้เป็นแสนทำไม่เราต้องปล่อยให้กระบวนการการแก้ไข ปัญหาเป็นกรณีๆไป คนไหนโชคดีพี่ๆสื่อมวลชนได้รับรู้รับทราบก็ไปตีข่าว ให้สามารถที่จะเข้าถึง ทรัพยากรเพียงพอสู้การเข้าระบบการศึกษาแล้วไม่หลุดออกมาจากระบบการศึกษาได้

แต่ทำไมเราจึงมีปัญหานี้อยู่ ในเมื่อเรามีมาตรการทั้งสามมาตรการที่ผมได้กล่าว เรามาถูกทางแล้วหรือยังถ้าถูกทางแล้วทำไมปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิด งบประมาณทางด้านการศึกษาของประเทศไทยปีหนึ่ง ประมาณ 5 แสนล้านบาท ยังไม่นับถึงสตางค์ของคุณพ่อแม่ต้องควักออกมาจ่ายทางด้านการศึกษา ประเทศไทยชี้จ่ายด้านการศึกษามากถึง 8 แสนล้านบาท ต่อปีมหาศาลมากประมาณร้อยละ 25 ของ งบประมาณแผ่นดิน 1 ใน 4 ของเงินที่เราใช้ในทุกๆบริการสถานะต้องเอามาให้ในด้านการศึกษา แล้วทำไมยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่ ปัจจุบันงบประมาณที่เราใช้ในการอุดหนุนเด็กยากจนมีอยู่ประมาณ 2500 ล้านบาท ถ้าท่านไหนจำตัวเลข 5แลนล้านบาท เมื่อสักครู่นี้ได้  2500 ล้านบาท คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของ 5 แสนล้านบาท ถึง 1% ไม่ครับ อาจจะยังไม่ถึงด้วยซ้ำไปทำไมเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญที่กระทบต่อโอกาส กระทบต่อทางด้านการศึกษา นอกจากปัญหาที่เราว่ามีเงินเพียงพอแค่ 2500 ล้านบาท กับเรื่องที่สำคัญขนาดนี้ละครับ มีตัวเลขของเด็กที่ส่งรายชื่อเข้ามาจากสถานศึกษาว่า เด็กมีความยากจนมากกว่า

2.เท่าของงบประมาณที่มีอยู่ทำให้เราไม่สามารถที่จะแยกแยะว่าใครจนจริงใครจนไม่จริงใครจนมากใครจนน้อย ใครควรจะได้เงินใครควรจะได้มากแค่ไหนเพราะงบประมาณ มีความจำกัดแล้วก็ยังไม่สามารถที่จะแยกออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นปัญหาที่ซ้อนอยู่ ในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยครับ เรามีปัญหานี้ทำให้เกิดความเชื่อมโยงไปกับรายได้ที่ไม่พอยังชีพพ่อแม่ต้องพากันไปทำงานเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวผู้ปกครองบางคนประสบปัญหามีความพิการตามที่เรามักจะเห็นในหน้าหนังสื่อพิมพ์ว่าน้องๆ ต้องออกจากโรงเรียนเพื่อมาดูแลคุณพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แล้วก็หารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นเด็กนักเรียนอยู่บางคนต้องท้องในวัยรุ่น เคยไปออกในกรณีตัวอย่าง ที่สมุทรปราการตอนนั้นโครงการแม่วัยรุ่น น้องอายุ 18 ปี ท้องมาสองท้องแล้วคนละพ่อกันน้องก็บอกว่าหนูจำเป็นที่จะต้องทำ ต้องมีผู้ชายมาเลี้ยงครอบครัวเพราะบ้านหนูไม่มีใครจะเลี้ยงได้อีกแล้วอันนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าความยากจนนั้นกระทบไปรู้ปัญหาต่างๆ มากมายในชีวิตของเด็กนะครับมีการเป็นกำลังสำคัญของระบบการศึกษาและเศรษฐกิจของประเทศนี้คือทางตันทางการศึกษาหรือเปล่า นี้คือสิ่งที่เรามีทางออกหรือไม่ ทางออกทางการศึกษาคืออะไรครับผมก็อยากจะยกตัวอย่างทางออกที่น่าจะเป็นไปได้ในระบบการศึกษาไทยนะครับ ว่าถ้าเกิดเราใช้ระบบสารสนเทศเป็นไฟที่นำทางให้ เราเข้าถึงข้อมูลว่าเด็กคนไหนบ้างที่มีปัญหา แล้วเขาต้องการอะไร เขาอยู่ที่ใดเขาขาดอะไรเขาต้องการมากเพียงใดต่อเนื่องแค่ไหน แล้วมีใครในครอบครัวเขาอีกที่ต้องการความช่วยเหลือ แล้วเมื่อเขารับความช่วยเหลือแล้วยังไงต่อที่เราจะดูแลเขายังไงให้จบการศึกษาระบบสารสนเทศที่สร้างหลักประกันทางการศึกษาได้

เราสามารถจะเจอตัวเด็กแล้ววัดงบประมาณให้ได้เป็นรายบุคคลใช้หรือไม่ เราสามารถที่จะเข้าใจได้อย่างแท้จริงว่าเด็กคนนั้นต้องการเงินมากเพียงใดไม่ใช้ให้ทุกคนเท่ากันเหมือนกับที่เราเคยทำมาคนที่มีน้อยควรจะได้รับตามความต้องการ คนที่มีมากอยู่แล้วได้ให้เขามีได้รับในสิ่งที่เขาพอเพียงกับการอยู่ในระบบการศึกษา และจะเจอเด็กเป็นรายแล้วเราไปต่อที่การติดตามว่าเขาเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้ว  เขาต้องการอะไรเพิ่มเติมอีกไหมเมื่ออยู่ในโรงเรียนแล้ววันพรุ่งนี้เขาจะอยู่ในโรงเรียนต่ออย่างไรไม่หนีออกไปหารายได้เสริมอีกไม่ต้องถูกดึงออกไปช่วยคุณพ่อแม่ทำงานอีก ทำอย่างไรที่เขาจะมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ได้มีกระบวนการการพัฒนาหาพรสวรรค์ความสามารถหาความต้องการที่จะพัฒนาตัวเอง ของเขาได้สำเร็จการศึกษาในที่สุดและเราสามารถจะใช้ระบบสารสนเทศในการสนับสนุนโรงเรียนและครูในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ได้อย่างไรบ้าง นี้คือตัวอย่างของการใช้ระบบสารสนเทศที่น่าจะทำได้เราได้เริ่มใช้แล้วใน 10 จังหวัด ต้องขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. ที่ช่วยให้เราได้มีโอกาสทดรองนำร่องกับระบบนี้ ใน 10 จังหวัดที่ครอบคลุมเด็กยากจนประมาณ 5 แสนคน ที่ว่าทุนยากจนผู้สนใจสามารถโหลด ที่แอพสโตร์และเพลสโตร์ ซึ่งเป็นแอพที่จะพาครูไปบ้านของเด็กคนนั้นเก็บข้อมูลถือครองทรัพย์สิน

การมีรายได้ของแต่ละคนในครอบครัว แล้วก็ถ่ายภาพสภาพความเป็นอยู่ เพื่อที่จะทำการคัดกรองให้ได้ทราบจริงๆว่าน้องเขามีความยากจนจริงๆอย่างไรเพื่อให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไปจัดสันให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่น้องเป็นรายบุคคล เป็นเด็กที่เราเจออยู่ที่แม่ห้องสอน เมื่อระบบเข้าถึงก็จะสามารถที่จะคัดกรองข้อมูลเหล่านี้ไปสู่ศูนย์การศึกษาพิเศษแม่ฮ่องสอน เพื่อพัฒนาและก็ปรับสภาพให้น้องได้เดินทางไปเรียนที่โสตศึกษาจังหวัดเชียงใหม่เพราะว่าน้องได้รับการศึกษาตรงตามความต้องการ และน้องเป็นอาการหูหนวกไม่ได้ยินอะไรเลยทำให้น้องคนนี้อย่างน้อยแม้มีการพิการและยากจนได้มีการศึกษา ชีวิตคนหนึ่งสามารถเปลี่ยนได้ถ้าเราเข้าถึงเขาและข้อมูลจำเป็นในการพัฒนาเพราะฉะนั้นความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นไม่ใช้เด็กที่มีความแตกต่าง ของต้นทุนชีวิตจะได้สิ่งที่เท่ากันแล้วคาดหวังว่าเขาจะมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้แต่ถ้าเรามีข้อมูลรายบุคคล เราจะสามารถเติมเต็มส่วนที่ขาดชีวิตของเด็กคนหนึ่งในระบบการศึกษาให้โอกาสในด้านการศึกษาได้อย่างยั่งยืน อันนี้หรือเปล่าที่จะเป็นหลักการสร้างความเป็นธรรมให้ในระบบการศึกษา