Skip to main content

ดร.รังสรรค์  มณีเล็ก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยว่า ต้องชมนะว่าหนังสั้นทำได้ดีสะท้อนมากผมยอมรับว่าจริง การศึกษาของเราเหมือนเป็นจำเลยแตะไปตรง ไหนมีแต่ปัญหาหมดเลยถ้าพูดถึงเชิงระบบ ผลที่ได้ตัวเด็กเรายังไม่ค่อยพึงพอใจในคุณภาพ อย่างที่เป็นประเด็นเป็นปัญหากันอยู่

                อันแรกที่สยองคือเรื่องความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพทางการศึกษา  โอกาสที่จะเรียนที่ดีดีโอกาสไม่เท่ากัน แล้วถ้าเรามีโอกาสไปเยี่ยมเด็ก ที่อยู่ไกลๆ ห่างไกลแถวแม่ฮ่องสอนแถวตากเราจะสะท้อนใจมากเด็กตรงนั้นขาดโอกาสมาก เพราะฉะนั้นเรื่องเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพเหลื่อมล้ำแน่นอน เด็กในเมืองกับเด็กที่อยู่ต่างจังหวัด เด็กรวยกับเด็กจน เด็กที่อยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ขนาดเล็ก มีงานวิจัยมารองรับหมดเลยว่าเหลื่อมล้ำ ย้อนกลับมาดูกระบวนการบริหารกระบวนการเรียนการสอน ก็เป็นปัญหา

                “ย้อนกลับมาดูเรื่องของปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุน งานวิจัยของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ก็สะท้อนชัดเลยงบประมาณเราพอเพียง แต่ประสิทธิภาพในการใช้ มันไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นมันเป็นปัญหาทั้งหมด พอมาดูสาเหตุสิ่งที่สยอง คิดว่ามันมีอยู่ 2 จุด จุดแรกก็คือการให้ความสำคัญกับการศึกษาของผู้มีอำนาจอันนี้สะท้อนใจมาก ผมคิดว่าอันนี้สิ่งที่เขาพูดมาบางครั้งมันไม่จริงมันเป็นวาทกรรม จริงๆกฎหมายทางการศึกษาของเราว่างไว้ดีนะ ผมว่าทำตามนั้นได้อาจจะไม่ต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เข้าไป 70 80 % อะไรจะเปลี่ยนแปลงไปเยอะเลย    แต่การปฏิบัติจริงไม่ได้เป็นตามนั้น การไม่เห็นการศึกษา จึงทำให้การตั้งตัวบุคคลที่จะไปรับผิดชอบในการศึกษา การกำหนดนโยบายก็ตามมันไม่ต่อเนื่องไม่จริงจังนี้คือประเด็นแรกที่ผมสยอง ส่วนประเด็นที่สอง คือ เราก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ครูเหนื่อยรวมทั้งคนในกระทรวงเองก็เหนื่อย เป็นเพราะเราทำงานแบบเดิมๆ จะไปโทษคนข้างล่างก็ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่ก็ทำตามคำสั่งการ ผลก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง หลักสูตรก็แข็งตัวไป ไม่ยืดหยุ่นไม่หลากหลาย ไม่ตอบสนองความต้องการ เน้นแต่บอกความรู้ไม่เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา “ดร.รังสรรค์กล่าว

                ดร.รังสรรค์ กล่าวต่อว่า อันดับแรกคิดว่าความเชื่อของผู้มีอำนาจเขาไม่เชื่อว่าจะไปด้วยกันได้ ความเชื่อกับการปฏิบัติต้องไปควบคู่กัน ถ้าเขาเชื่อว่าการศึกษาคือความเจริญ ความงอกงามตามปรัชญาที่เราเรียนมามันจะไม่ต้องออกแบบนี้ อันดับแรกยากมากที่จะไปเปลี่ยนความเชื่อความคิดของคน ส่วนระบบการศึกษายังเป็นรองเรื่องคน ถ้าหากมีการจัดตั้งให้เข้าไปดูแลการศึกษาก็จะไม่เป็นแบบนี้ คนที่ถูกตั้งไปก็มีความตั้งใจคน แต่ละคนก็จะมีข้อจำกัด หากใจเขาไม่เปิดกว้างแนวทางการปฏิบัติก็จะแคบ เมื่อถูกหล่อหลอมมาให้ฟัง ลักษณะหรือสไตล์ก็จะออกมาเป็นอีกแบบหนึ่งใจจะไม่กว้างไม่สามารถเปิดโอกาสให้คนมาร่วม มาแสดงความคิดเห็น ต้องทำตามอย่างเดียว ประการที่สองตนเห็นด้วยกับ ผอ.จำรัส ที่ว่าปัจจุบันนี้เรายังไม่ได้กระจายอำนาจและความรับผิดชอบ ซึ่งงานวิจัยของ TDRI ว่าจะต้องทำ การเปลี่ยนแปลงเรื่องคุณภาพการศึกษาอยู่ที่โรงเรียนในห้องเรียน ตนคิดว่าบทบาทระหว่างผู้กำหนดนโยบาย ผู้สนับสนุน ผู้ตรวจสอบ และผู้ปฏิบัติ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา แต่ทุกวันนี้บางอย่างมันซ้ำซ้อน ผู้กำหนดนโยบายเข้าไปจัดการเองโดยไม่รู้บริบทเท่ากับคนในพื้นที่ จริงๆเรื่องในพื้นที่ควรเป็นของคนนั้น ดังนั้นตนจึงสนับสนุนให้มีกระจายอำนาจและความรับผิดชอบต้องควบคู่กันและส่งเสริมการมีส่วนร่วม

                “ประการแรกผมคิดว่าการศึกษาควรเป็นเรื่องของทุกคน ในอดีตที่ผ่านเราจะฝากกับกระทรวงการศึกษาอย่างเดียว พ่อแม่ไปหวังไว้กับครู จริงๆแล้วทุกคนต้องช่วยดูกันแต่ง อันไหนที่ไม่ได้จะได้ช่วยกันเสริม และกิจกรรมวันนี้เป็นอีกหนึ่งที่จะช่วยกระจายเรื่องราวต่างๆ ในการศึกษา ให้กับสังคมได้มีส่วนร่วมว่าจะอยู่อย่างนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว ส่วนประการที่สองก็คือ ลดการเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการการศึกษาให้มีคุณภาพ ต้องพูดถึงการเป็นธรรมมากกว่านี้ ทุกๆวันเน้นเรื่องความเสมอภาค คนที่อยู่ห่างไกลจะต้องได้รับโอกาสชัดเชยการเสียโอกาสเหล่านั้น ในหนังเมื่อสักครู่มีจริงอยู่หนึ่งอย่างคือ ครูดีๆเขาไม่ไปอยู่ไกลๆกันหรอก เพราะไม่มีแรงจูงใจ ควรชดเชยเพราะความห่างไกล เทียบกับคนทำเขื่อนชดเชยโดย ในนั้นมีโรงภาพยนตร์ อะไรก็แล้วแต่ที่คนปกติมีคนเหล่านั้นก็ต้องได้รับเหมือนกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้การศึกษาเราต้องควรนำมาใช้ หลักสูตรเองจะต้องปรับให้มีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย ผมคิดว่าหลักสูตรการผลิตบุคคลากรควรจะต้องปรับเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกันอีก 3-4  แสนคน ซึ่งเป็นบุคลากรเก่าตรงนี้ก็ต้องได้รับการพัฒนา และการพัฒนาที่ผ่านมาถูกโจมตีว่าไม่เหมาะสมนำมาใช้ในทุกวันนี้ ด้านการเรียนการสอนส่วนใหญ่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดหวัง แต่ว่ากระแสเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ส่วนการประเมินผลการเรียนแนวใหม่ต้องเน้นการวัดเพื่อการพัฒนาให้มาก สุดท้ายเรื่องสื่อเทคโนโลยีอุปกรณ์การเรียนจะต้องกระจายเอื้ออำนวยทุกที่ ไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียน”ดร.รังสรรค์ กล่าว