Skip to main content

เป็นที่ฮือฮากันพอสมควรเมื่อล่าสุดท่านรองนายกรัฐมนตรีสมคิดออกมาเปิดเผยว่าในปีงบประมาณ 2561 จะตั้งงบประมานขาดดุล 450,000 ล้านบาทซึ่งถือว่าเป็นงบประมาณขาดที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย จนทำให้หลายภาคส่วนออกมาขุดคุ้ยและหยิบยกประเด็นเรื่องของงบประมาณขึ้นมาพูดคุยอย่างกว้างขวางโดยมีการสรุปตัวเลขคร่าวๆกันแล้วว่ารัฐบาลแสนดีของลุงตู่ตั้งงบประมาณขาดดุลสี่ปีติดรวมแล้วกว่า 1,536,000 ล้านบาท ใช่ครับท่านอ่านไม่ผิด มันคือ ล้าน 2 ครั้ง

เพื่อให้ความเป็นธรรมกับลุงตู่คนดีของเราผมจึงได้ไปค้นข้อมูลย้อนหลังนะซึ่งทุกท่านสามารถตรวจสอบได้จากสำนักงบประมาณ เพราะเป็นเอกสารสาธารณะไม่ได้เป็นความลับอะไรเพื่อที่จะมาย้อนให้ดูกันว่าในแต่ละรัฐบาลนั้นจัดงบประมาณกันอย่างไรซึ่งเอาเข้าจริงๆงบประมาณขาดดูหนังไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับประเทศนี้เพราะเท่าที่จำความได้ประเทศไทยตั้งงบประมาณขาดดุลมาตลอดมีงบประมาณสมดุลช่วงสั้นๆในสมัยปลายรัฐบาลทักษิณเท่านั้น ซึ่ง ต้องชี้แจงก่อนว่าตัวเลขที่นำมานั้นคือตัวเลขงบประมาณที่ตั้งในแต่ละปีไม่ได้ใช้ตัวเลขทางการมาเบิกจ่ายจริงมานำเสนอเพราะฉะนั้นในทางปฎิบัติแล้วตัวเลขอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้แล้วแต่ยุคสมัยแต่ตัวเลขของการตั้งงบประมาณนี้ จะสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางและแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

เรามาเริ่มกันที่รัฐบาลทักษิณ คนที่คุณก็รู้ว่าใคร ซึ่งบริหารประเทศเกี่ยวโยงผูกพัน 6 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2544-2549 ตั้งงบประมาณขาดดุล 4 ปีและสมดุลใน 2 ปีสุดท้าย ซึ่งรวมแล้วตลอดเวลาของรัฐบาลทักษิณตั้งงบประมาณขาดดุลรวม 754,800 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 126,467 ล้านบาท คิดเป็น 9.5 % ของงบประมาณแผ่นดิน

ต่อมาเธอรัฐบาลหลังรัฐประหารของพลเอกสุรยุทธ์ที่เกี่ยวโยงงบประมาณปี 2550 ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุล 146,200 ล้านบาท คิดเป็น 9.3% ของงบประมาณแผ่นดิน

และในปีงบประมาณ 2551 เป็นรัฐบาลนายกสมัครและนายกสมชาย ขาดดุล 165,000 ล้านบาท คิดเป็น 9.9% ของงบประมาณแผ่นดิน

สำหรับรัฐบาลของนายกฯอภิสิทธิ์นั้นผูกพันปีงบประมาณสามปีตั้งแต่ปี 2552 - 2554 ซึ่งได้มีการตั้งงบประมาณขาดดุลตลอดจนการตั้งงบประมาณกลางปีหลายครั้ง รวมแล้ว 3 ปีขาดดุลถึง 1,407,728 ล้านบาทหรือเฉลี่ยปีละ 469,243 ล้านบาทคิดเป็น 20.5% ของงบประมาณแผ่นดิน

จนถึงรัฐบาลนายกคนสวยของรัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ซึ่งผูกพันปีงบประมาณตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2557 3 ปีเท่ากับนายกฯอภิสิทธิ์ซึ่งขาดดุลรวม 950,000 ล้านบาทหรือเฉลี่ยปีละ 316,667 ล้านบาท คิดเป็น 13.1% ของงบประมาณแผ่นดิน

สุดท้ายถึงรัฐบาลนายกคนดีของผมรัฐบาลเผด็จการ คสช.ภายใต้ การนำของนายกคนดีพลเอกประยุทธ์ของเพื่อนของผมซึ่งหากในการเลือกตั้งในปีหน้าจริงๆก็เท่ากับว่าเป็นรัฐบาลที่ผูกพันปีงบประมาณถึง 4 ปีตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2561 และหากรอบงบประมาณของปีหน้าเป็นไปตามที่ท่านรองนายกฯบอกจริง รวมกับที่มีการตั้งงบกลางปีด้วยแล้วเท่ากับว่ารัฐบาลลุงตู่ตั้งงบประมาณขาดดุลรวม 1,536,000 ล้านบาทหรือเฉลี่ยปีละ 384,000 ล้านบาทคิดเป็น 14.1% ของงบประมาณแผ่นดิน

จะเห็นได้ว่าย้อนไปจนถึงรัฐบาลนายกทักษิณจนถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ทุกรัฐบาลล้วนตั้งงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้นดังนั้นการตั้งประมาณขาดดุลจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติสำหรับประเทศไทยและถือเป็นมาตรการปกติทางการคลังที่ถูกต้องในการกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนจะมากหรือน้อยอย่างไรนั้นก็แล้ว แต่นโยบายและสภาพเศรษฐกิจในแต่ละช่วงซึ่งจะเห็นได้ว่าในรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ซึ่งก่อนนั้นเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์จึงมีการตั้งงบประมาณขาดดุลสูงจนทะลุ 20% ของงบประมาณแผ่นดิน ส่วนรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์นั้นแม้ตัวเลขของเงินจะสูงแต่จริงๆแล้วคิดเป็นเพียงแค่ไม่ถึง 15% ของงบประมาณแผ่นดิน

ดังนั้นการพิจารณาศักยภาพและประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อบริหารประเทศนั้นจะมองเพียงแค่เรื่องของการตั้งงบประมาณขาดทุนเท่าไหร่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ หากแต่ต้องพิจารณาไปถึงบริบทซึ่งผมขอนำเสนอใน 3 มุมคือ

1. งบประมาณที่ขาดดุลนั้นช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใดซึ่งผมก็ได้นำข้อมูลอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในแต่ละรัฐบาล มาประมวลรู้ซึ่งก็ได้ข้อมูลดังนี้
- รัฐบาลทักษิณบริหารประเทศหกปีเศรษฐกิจของประเทศเติบโตกว่า 24.4% ภายหลังวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งเริ่มฟื้นตัว
- รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์เศรษฐกิจเติบโต 5.1%
- รัฐบาลของนายกฯสมัครและนายกสมชายเศรษฐกิจโต 1.7%
- รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์บริหารประเทศ 3 ปีในภาวะวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์สามารถทำเศรษฐกิจเติบโต 7.8%
- รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์บริหารประเทศสามปีเศรษฐกิจเติบโต 3.4 %
- สำหรับรัฐบาลนายกลุงตู่นั้นบริหารประเทศมา 3 ปีกว่าแล้วยังไม่มีตัวเลขจีดีพีที่ตายตัวออกมสแต่มีการประเมินแล้วว่าเติบโตรวมราว 6-7 %

จะเห็นได้ว่า งบประมาณขาดดุลที่ตั้งในแต่ละรัฐบาลนั้นคุ้มค่าในการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่อย่างไรก็พิจารณาเอาได้จากตัวเลขซึ่งเป็นรูปธรรม

2. ความชอบธรรมของการใช้งบประมาณ
ข้อนี้ชัดเจนในตัวของมันครับในการตั้งงบประมาณจำนวนมหาศาลนั้นมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในทุกปีและขาดดุลในปริมาณสูงนั้น การใช้จ่ายงบประมาณเหล่านั้นได้ถูกใช้จ่ายอย่างมีศักยภาพเพียงใด มีตัวแทนของประชาชนเข้าไปแปรญัตติเพื่อกระจายงบประมาณตามสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่หรือไม่ มีฝ่ายค้านคอยกำกับติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณหรือเปล่า และผู้ที่ออกงบประมาณจำนวนมหาศาลขนาดนี้ได้รับอำนาจในการใช้งบประมาณแทนประชาชนมาจากประชาชนหรือไม่ เพราะถ้าสุดท้ายแล้วเป็นแค่คนชั่วคราวคือเค้าฝากเฝ้าบ้าน จะมีความชอบธรรมที่จะใช้เงินแทนเจ้าของบ้านมากขนาดนี้เลยหรือไม่ แล้วเงินที่เอาออกมาใช้มากขนาดนี้ตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆเข้าไปในสวนร่วมหรือเปล่า และไม่ต้องพูดฝ่ายค้านที่ไม่มีไว้ติดตามตรวจสอบแม้แต่คนเดียว

3. ศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อหาเงินให้ได้ตามเป้าที่วางไว้ในปีงบประมาณ
ข้อนี้สำคัญมากครับเพราะอย่างที่ผมบอกไปว่าตัวเลขที่นำมานั้นเป็นตัวเลขในปีงบประมาณที่ตั้งขึ้นประจำปีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเลขประมาณการทั้งสิ้นไม่ใช่เลขที่ใช้จ่ายหรือจัดเก็บได้จริงเพราะฉะนั้นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะบอกว่างบประมาณนั้น ขาดทุนมากขึ้นหรือน้อยลงจากเลขที่ตั้งเอาไว้ก็คือการจัดเก็บงบประมาณได้ตามเป้าหรือทำไมซึ่งผมมีตัวเลขที่น่าสนใจครับ

เปรียบเทียบแค่สองรัฐบาลในระยะเวลาเท่าๆกันประมาณ 3 ปี และรัฐบาลที่มีต่องบประมาณขาดดุลสูงมากคือรัฐบาลของนายกฯอภิสิทธิ์กับรัฐบาลของนายกฯประยุทธ์ซึ่งมีข้อมูลดังนี้ครับ

- รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์บริหารประเทศสามปีละจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าในปีแรกส่วนอีกสองปีหลังจัดเก็บได้เกินเป้ารวมแล้วตลอดระยะเวลาของรัฐบาลจัดเก็บได้เกินเป้า 176,987.6 ล้านบาท
-รัฐบาลพลเอกประยุทธ์บริหารประเทศมาได้สามปีสรุปยอดไปแล้วหนึ่งปีซึ่งต่ำกว่าเป้า 222,011.3 ล้านบาทและกำลังสรุปยอดในปี 2559 ซึ่งจัดเก็บได้เกินเป้าราว 20,000 ล้านบาทนั้นก็เท่ากับว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์จัดเก็บได้ต่ำประมาณ 200,000 ล้านบาท

ครับแล้วทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่ผมนำมาประมวลให้ทุกท่านได้เห็นภาพอย่างชัดเจนการตั้งงบประมาณขาดดุลไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่การตั้งงบประมาณขาดดุลแล้วได้ผลอย่างไรอยู่ที่ศักยภาพ ความสามารถ และความชอบธรรมของรัฐบาล ซึ่งจากตัวเลข วิธีการ และกระบวนการก็จะเป็นตัวตอบโจทย์ได้อย่างชัดเจนว่ารัฐบาลของลุงตู่ผู้แสนดี ควรค่าแก่การตั้งงบประมาณขาดดุลมหาศาลขนาดนี้หรือไม่