Skip to main content

หนึ่งในความจำเป็นเร่งด่วนของสังคมไทยภายใต้รัฐเผด็จการคือขจัดความติดต่างที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของอำนาจเบื้องสูง จึงเป็นเหตุให้ผู้นำประเทศสั่งการให้กระทรวงศึกษาฯ นำ ‘บทอาขยาน ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ’ ไปเผยแพร่ที่โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน รวมถึงการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) อย่างถ้วนหน้ากัน ตามรายงานใน ‘กรุงเทพธุรกิจออนไลน์’ เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา

การเผยแพร่ครั้งนี้ ไม่ใช่เอาไปปิดประกาศธรรมดา แต่เพื่อมั่นใจว่า ‘ค่านิยมหลักคนไทย’ จำนวนโหลหนึ่งนี้ จะเข้าถึงมโนสำนึกของเยาวชนไทย ‘ทุกคน’ ทั่วประเทศอย่างแท้จริง ทางกระทรวงฯจึงได้คิดกลยุทธ์ต่างๆอย่างรัดกุม ทั้งให้นักเรียนท่องหน้าเสาธงหรือในห้องเรียน นำไปสอดแทรกไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร แต่งเป็นเพลงเพื่อให้จำง่ายขึ้น ซึ่งทุกอย่างนี้จะเริ่มปฏิบัติในภาคเรียนที่ 2 ที่จะถึงนี้

น่าสังเกตว่าการให้ท่องจำค่านิยมในครั้งนี้ ไม่ถูกบังคับในกลุ่มผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป และประชาชนทั่วไป ซึ่งสะท้อนความเชื่อของรัฐที่ว่าการปลูกฝังความคิด จะได้ผลอย่างดีที่สุดเมื่อทากับผู้เรียนในระดับที่ยังมีวิธีการเรียนการสอนแบบท่องจำ และรัฐต้องทาเช่นนี้เพื่อสร้างบรรทัดฐานให้พลเมืองยึดเป็นแนวทางความถูกต้อง ด้วยการบอกว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง และคือ ‘ค่านิยมหลัก’ ของคนไทย

สมมติว่านี่คือค่านิยมหลักของคนไทย หากว่ากันตามกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมแล้ว เด็กๆก็ควรจะซึมซับมันด้วยตัวเอง แต่รัฐไทยน่าจะมีความจำเป็นบางอย่างที่ไม่อาจปล่อยให้เป็นเช่นนั้นได้ อาจเป็นเพราะ นี่คือยุคที่เกิดแรงต้านอานาจเผด็จการ ยุคที่ผู้คนต้องการทวงคืนสิทธิพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ในยุคเปลี่ยนผ่านที่อำนาจในระบอบราชาธิปไตยกำลังสั่นคลอน ศรัทธาของคนไทยไม่เข้มแข็งอย่างเดิม คนไทยทุกระดับชนชั้นมี ‘สานึก’ ที่เปลี่ยนไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภัยคุกคาม ‘ความมั่นคงของผู้มีอำนาจ’

ผู้มีอำนาจยอมไม่ได้ที่คนในสังคมจะมีความคิดที่ขัดกับลัทธิอำนาจนิยม

อันที่จริง การปลูกฝัง ‘ค่านิยมคนไทย’ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่มีมาทุกยุคทุกสมัย เนื้อหาสาระแตกต่างกันไปตามบริบททางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจสมัยนั้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นของตายตัวที่ต้องปลูกฝังให้เหมือนกันทุกยุคสมัยคือ ปลูกฝังให้รักชาติ รักศาสนา มีคุณธรรม และเชื่อฟังผู้ใหญ่ (ซึ่งในอีกนัยยะหนึ่งก็หมายถึงการเชื่อผู้นาด้วย)

และนี่คือ ‘ค่านิยมหลักคนไทย’ ยุคล่าสุดที่รัฐเพิ่ง ‘แต่ง’ ขึ้นมาสดๆร้อนๆ

“หนึ่งรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สองซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้

สามกตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ สี่มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา

ห้ารักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ หกไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา

เจ็ดเรียนรู้ อธิปไตย ของประชา แปดรักษา วินัย กฎหมายไทย

เก้าปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส สิบไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้

สิบเอ็ดต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ สิบสองไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม”

ศิวกานท์ ปทุมสูติ กวีชื่อดังซึ่งมีผลงานเข้ารอบสุดท้าย ‘ซีไรต์’ หลายสมัย ให้ความเห็นว่า “บทกวีหรืองานศิลปะที่จะมีพลังกระตุ้นจิตสานึกนั้น ไม่ใช่การกระทำแบบทื่อๆ หรือตรงไปตรงมา หากแต่จะต้องมีพลังบันดาลใจให้คิดต่อ และจะต้องมีพื้นที่เกียรติยศทางปัญญาแก่ผู้เสพสารด้วย”

แต่ ‘ทหาร’ ทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้ต้องการให้เด็กไป ‘คิดต่อ’ ไม่ต้องการให้เกิดสุนทรียะ ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทย บทกวีในที่นี้มีคุณค่าเพียง ‘เครื่องมือ’ ที่ถูกใช้เพื่อให้พลเมืองยุคใหม่ท่องจำอุดมการณ์ของรัฐ เข้าใจตรงกัน และนาไปปฏิบัติตาม

หากเปรียบเทียบกับเพลง ‘เด็กเอ๋ยเด็กดี’ ที่พูดถึงหน้าที่ของ ‘เด็กดี’ 10 ประการตามนิยามของรัฐในยุคสมัยที่ไทยกำลังพัฒนาประเทศให้เจริญทางเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเข้ามาของทุนนิยมและอุตสาหกรรม ดังที่เพลงบอกว่า “เด็กสมัยชาติพัฒนา ต้องเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ” เนื้อหาสาระในบทอาขยาน ‘ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ’ นี้ได้เพิ่มเติมสำนึกต่อสถาบันหนึ่งที่ไม่เคยอยู่ในเพลง ‘เด็กดี’ ในยุคอดีต นั่นคือสถาบันพระมหากษัตริย์ ในข้อ 1, 9 และเน้นย้ำอีกครั้งในข้อ 10 ส่วนข้อ 3 ความหมายที่ลึกลงไปอีกระดับหนึ่งคือให้รู้สำนึกในบุญคุณและจงรักภักดีต่อ ‘พ่อ’ และ ‘แม่’ ของคนไทยนั่นเอง

หรือนี่จะเป็นเพราะพลังศรัทธาอ่อนกำลัง คลอนแคลน หรือมีบางสิ่งบางอย่างเปลี่ยนไป จนถึงกับต้องนำไปบรรจุไว้ใน ‘หลักสูตร’ ให้นักเรียนต้องท่องจำเป็นอาขยานอย่างไม่ต้องคำนึงถึงคุณค่าทางวรรณศิลป์กันเลยทีเดียว

 

แหล่งอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. สพฐ.สั่งร.ร.ท่องอาขยาน12ประการหน้าเสาธง. Available from:

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/education/20140917/605431/สพฐ.สั่งร.ร.ท่องอาขยาน12ประการหน้าเสาธง.html

เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์. กวีดังติงบทอาขยานค่านิยม12 ประการไม่ดีพอ. Available from: http://www.posttoday.com/สังคม/การศึกษา/319050/กวีดังติงบทอาขยานค่านิยม12 ประการไม่ดีพอ

 

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ ‘ปล่อยของหลังห้อง’ สนใจร่วมส่งผลงานมาปล่อยของกับเราได้ที่ อ่านรายละเอียด