นิสิตม.บูรพา เสวนาเรื่องอาชญากรรม ความรุนแรงในเหตุการณ์การเมืองของไทย รวมทั้งชำแหละประวัติศาสตร์ 14 ต.ค. 2516 ถึง 6 ต.ค. 2519 อยากหลากหลายมิติ
เมื่อวันที่ 14 ต.ค 2557 เวลา 13.30 น. ชุมนุม Paradoxocracy คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดงานเสวนารำลึก 14 ต.ค. 2516 และ 6 ต.ค. 2519 ในหัวข้อ “14 ตุลาฯ อาชญากรรมรัฐกับสังคมไทย” โดยการเปลี่ยนสถานที่จาก Qs2 601 ไปเป็น HUSO 600 ก่อนเริ่มงานไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก่อนเริ่มกิจกรรม ผู้ร่วมเสวนาได้แก่ อาจารย์กันต์ แสงทอง อาจารย์พิเศษ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นายรวิพล ลี้มิ่งสวัสดิ์ นิสิตคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 นายจักรพล ผลละออ นิสิตคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 นายฤชานนท์ เมืองนก นิสิตคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 และดำเนินรายการโดย นายพีรพล ทองดี นิสิตคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
โดย รวิพล หรือ ติวจะเป็นคนเล่าเรื่องและลำดับเหตุการณ์เพื่อให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นของ 14ตุลา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จนถึงเหตุการณ์ 6 ต.ค. 19 ในอีก 3 ปีถัดมาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ส่งผลอย่างไรต่อกันบ้าง ติวเล่าว่าหลังจากจบเหตุการณ์14ตุลา นักศึกษา ชาวนา รวมทั้งพนักงานโรงงานเริ่มออกมาประท้วงมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชนชั้นกลางเกิดความไม่พอใจ รวมทั้งในเวลานั้นนักศึกษาเองไม่ได้เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป ถูกกล่าวหาว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ เหตุการณ์ที่พระถนอมบวชเณร(จอมพลกิตติขจร กิตติขจร)กลับมาทำให้นักศึกษารวมตัวกัน มีการชุมนุมใหญ่จนนำไปสู่การใส่ร้าย และเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญขึ้นในที่สุด
ในส่วนของ กันต์ พูดถึงจอมพลสฤษดิ์(ธนะรัชต์)ที่ไปลื้อฟื้นอุดมการณ์แบบเก่ามา คือแบบพ่อขุน ทำตัวเองเหมือนพ่อขุนปกครองราษฏร ดูแลเรื่องความสะดวกปลอดภัยความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ภายใต้คำสั่งที่เป็นเผด็จการ ซึ่งส่งผลให้เป็นที่ยอมรับ
ท้ายเบรกแรก กันต์ กล่าวทิ้งไว้ว่าความรุนแรงนั้นที่คนยอมรับได้เนื่องจาก ความรุนแรงถูกใช้เป็นเรื่องปกติทั้งในระบบการศึกษาและพบเจอได้ในครอบครัว
ในช่วงต่อมา กันต์ ได้สะท้อนความคิดของ 3 นักวิชาการชื่อดัง คือ ธงชัย วินิจกุล, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และสุรชาติ บำรุงสุข ที่มองเกี่ยวกับปัจจัยที่มาที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงแบบนี้ต่างกัน ธงชัย มองว่าคำว่าชาติเป็นปัญหา เพราะคำว่าชาติเป็นนามธรรมและถูกสร้างขึ้นเพื่อชี้นำให้คนว่าต้องทำอย่างไร แต่ สมศักดิ์ มองว่าเป็นสถาบันกษัตริย์ต่างหากที่เป็นปัญหาเนื่องจากถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง คนสุดท้าย สุนชาติ มองว่าทหารคือปัญหาเพราะทีผ่านมาเราจะเห็นว่าทหารผูกขาดอำนาจผูกขาดความชอบธรรมไว้ตลอด ทหารเหมือนรัฐภายในรัฐปกครองตนเองมีศาลของตนเองทหารจึงเป็นต้นตอของปัญหาความรุนแรง โดย กันต์ยกแนวคิดของอาจารย์ทั้งสามคนมาเปรียบเทียบกัน
คนถัดไปคือ จักรพล หรือที่รู้จักกันในนาม ‘กันกัน’ ได้นำหลักโครงสร้างนิยมมาจับและอธิบายปรากฏการณ์ทั้งหมด โดย กันกัน บอกว่าสังคมประกอบด้วยโครงสร้างส่วนบน(อุดมการณ์)ต่างๆที่รัฐกำหนด กับโครงสร้างส่วนล่าง(ความเป็นอยู่เศรษฐกิจ)ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ความเป็นเผด็จการมีมาก่อน 14 ต.ค.16 แต่ทำไมประชาชนยอมรับนั่นเพราะเศรษฐกิจดีผู้คนมีความสุข และในช่วง 14 ต.ค.16 นั้น การบริหารงานของจอมพลถนอมไม่ดี ส่งผลต่อเศรษฐกิจมากมาย นอกจากนี้ สิ่งที่ประชาชนรวมทั้งนักศึกษาต้องการในช่วง 14 ต.ค.16 นั้น ไม่ใช่ประชาธิปไตย หากแต่เป็นราชาชาตินิยมประชาธิปไตย ในช่วงถัดมากันกันพูดถึงการที่คนๆหนึ่งถูกเรียกร้องโดยอุดมการณ์ที่ตัวเองยืดถือ โดยอ้างเพื่อปกป้องชาติปกป้องสถาบัน และฆ่าคนได้นอกจากนี้ กันกัน มองว่า 14 ต.ค.16 ไม่ใช่ชัยชนะของประชาชนแต่เป็นชัยชนะของอุดมการณ์ราชาชาตินิยม
ฤชานนท์หรือแชมป์ผู้ร่วมเสวนาคนสุดท้ายกล่าวถึงบวนการนักศึกษาในยุค 14 ต.ค.16 ที่นำสถาบันกษัตริย์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับเผด็จการทหารในสมัยนั้น แชมป์บอกว่าปัญหาคือความว่าชาติที่เปรียบเสมือนบ้านเรามักมองว่าบ้านเราดีไม่มีข้อบกพร่องแล้วก็ไปดูถูกประเทศเพื่อนบ้านแทนที่จะหันมารู้จักบ้านตัวเองจริงๆ นอกจานี้แชมป์ยังพูดถึงกระบวนการสร้างความเกลียดชังในสมัยนั้นที่รุนแรงมาก ด้วยกระบวนการต่างๆซึ่งส่งผลให้เกิดการฆ่านักศึกษาอย่างโหดเหี้ยมในวันที่ 6 ต.ค.19 โดยแชมป์เล่าว่านักศึกษาบางคนอย่างเช่น จารุพงษ์ ทองสินธุ์ ที่ถูกฆ่าตายในธรรมศาสตร์วันนั้นครอบครัวกว่าจะรู้ข่าวยังตั้งอีก 20 ปีผ่านไปเห็นภาพเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้นถือเป็นการปราบนักศึกษาอย่างราบคาบ
นอกจากนี้หลังจบกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมถามวิทยากรว่าอะไรคือแนวทางก็การทำลายค่านิยมที่คนดีความดีความหวังดีหรือผู้ใหญ่ที่ใช้อำนาจนการใช้ความรุนแรงกับผุ้ที่อ่อนอาวุโสกว่า กันต์ กล่าวว่า ความมั่นคงคือต้นเหตุ การอ้างความั่นคงความเรียบร้อยมันไม่สมเหตุสมผล ซึ่งไม่สมควรอ้างได้
- 6 views